นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษพัฒนาเครื่องมือ
MELD
Graph ที่ใช้ AI เพื่อช่วยนักรังสีวิทยาในการตรวจหาความผิดปกติในสมองจากภาพสแกน
MRI ได้ละเอียดขึ้น
AI
จะค้นหาจุดที่ผิดปกติ โดยเฉพาะความผิดปกติบริเวณกลีบสมองเปลือกหน้า
(cortical dysplasia/focal cortical dysplasia - FCD) ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของโรคลมชักและมักมองเห็นได้ยาก
เครื่องมือนี้พัฒนาจากการวิเคราะห์ข้อมูล
MRI
ของผู้ป่วย 700 ราย
และสามารถตรวจจับความผิดปกติที่แพทย์อาจพลาดไปได้ถึงสองในสาม MELD Graph ซึ่งยังไม่ได้ใช้งานจริงในสถานพยาบาล
ถูกสร้างเป็นซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สเพื่อให้เข้าถึงได้ง่าย
และมีการฝึกอบรมบุคลากรทางการแพทย์ทั่วโลกเพื่อใช้งานเครื่องมือนี้
AI
ค้นหาสิ่งที่ละเอีดยมากๆ
ดร.
คอนราด แวกสตี (Dr.
Konrad Wagstyl) อาจารย์อาวุโสจากภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์และวิทยาศาสตร์ภาพถ่าย
มหาวิทยาลัยคิงส์คอลเลจลอนดอน เปรียบเทียบประโยชน์ของการใช้ AI ค้นหาความผิดปกติของสมอง โดยระบุว่า "การสแกน MRI มีข้อมูลประมาณ 10 ล้านพิกเซล
และพวกเขาต้องค้นหาความผิดปกติที่อาจมีเพียง 100 พิกเซล
ซึ่งเป็นอัตราส่วนที่เล็กมากๆ "
"ลองนึกภาพนวนิยายที่มี 200 หน้า ซึ่งมีคำประมาณ 100,000
คำ
และพวกเขาต้องหาคำเพียงคำเดียวที่มีขนาดตัวอักษรผิดเพี้ยนไปเล็กน้อยหรือใช้ฟอนต์ที่แตกต่างออกไป"
ระบบ
AI
นี้ไม่เพียงแต่ระบุจุดที่อาจเป็นความผิดปกติ แต่ยังอธิบายเหตุผลด้วย
จากนั้นรังสีแพทย์สามารถตรวจสอบผลลัพธ์อีกครั้ง
ทำให้กระบวนการวินิจฉัยเร็วขึ้นและช่วยให้ผู้ป่วยได้รับการผ่าตัดรักษาเร็วขึ้น โดย 1 ใน 5 ของผู้ป่วยลมชักมีสาเหตุมาจากความผิดปกติของโครงสร้างสมอง
แม้ว่าเครื่องมือนี้จะยังไม่พร้อมใช้งานในทางคลินิก
แต่ทีมวิจัยได้เปิดให้ใช้ซอฟต์แวร์แบบ โอเพ่นซอร์ส
และกำลังฝึกอบรมแพทย์และนักวิจัยทั่วโลกเกี่ยวกับการใช้งานมัน
ที่มา
:
Springnews
วันที่
14 มีนาคม 2568