‘ญี่ปุ่น’ ตั้งเป้าปี 2030 ผลิตเครื่องจักรกล 1.1 แสนยูนิต และหุ่นยนต์ 3.5 แสนยูนิตรับเทรนด์โลก
เป้าผลิตนี้เมื่อเทียบกับปี 2021 จะเป็นการเพิ่มขึ้น 1.6 เท่า และ 1.7 เท่าตามลำดับ
ในช่วงต้นปี
2023 กระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรมญี่ปุ่น (METI) รายงานว่า นับตั้งแต่การระบาดของโควิด โลกได้พบกับความเปลี่ยนแปลงหลายด้าน
ไม่ว่าจะเป็นการมาถึงของรถยนต์ไฟฟ้า (EV), การเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล
(DX), ความเป็นกลางทางคาร์บอน (CN), และอื่น
ๆ ส่งผลให้ภาคการผลิตทั่วโลกเผชิญกับปัญหาซัพพลายเชน
และยังผลักดันให้กระบวนการผลิตที่มีประสิทธิภาพ รวมถึงหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติมีความสำคัญยิ่งขึ้น
ตอบสนองความต้องการที่ขยายตัวอย่างรวดเร็วหลังสิ้นสุดโควิด
ความต้องการเครื่องจักรกลและหุ่นยนต์อุตสาหกรรมที่ขยายตัว
ด้วยความต้องการเครื่องจักรกลและหุ่นยนต์อุตสาหกรรมที่ขยายตัวอย่างรวดเร็วจนเกิดปัญหาซัพพลายเชน
ทำให้รัฐบาลญี่ปุ่นเล็งเห็นความจำเป็นของซัพพลายเชนที่มั่นคง
ลดการพึ่งพาต่างประเทศ
เสริมสร้างศักยภาพการผลิตภายในประเทศและความสามารถทางเทคโนโลยี
ซึ่งในอีกด้านจะเป็นการสนับสนุนภาพลักษณ์ของเศรษฐกิจและสังคมของญี่ปุ่น
ด้วยเหตุนี้
METI
จึงตั้งเป้าหมายเพิ่มกำลังการผลิตเครื่องจักรกลเป็น 8 หมื่นยูนิตภายในปี 2025 เพิ่มขึ้น 1.2 เท่าจากปี 2021 และต้องการขยายกำลังการผลิตให้ได้ 1.1 แสนยูนิตภายในปี 2030 เพิ่มขึ้น 1.6 เท่า ซึ่งสอดคล้องกับการเติบโตของเครื่องจักรกลทั่วโลกตามข้อมูลอ้างอิงจาก
Gardner Business Media และ Japan Machine Tool
Builders’ Association (JMTBA) ที่คาดการณ์ว่า ในปี 2030 ความต้องการเครื่องจักรกลทั่วโลกจะเติบโต 1.6
เท่าจากปี 2021
ด้านหุ่นยนต์อุตสาหกรรม
METI
ตั้งเป้าเพิ่มกำลังการผลิตเป็น 2.6
แสนยูนิตภายในปี 2025 เพิ่มขึ้น 1.3
เท่าจากปี 2021 และขยายกำลังการผลิตให้ได้ 3.5 แสนยูนิตภายในปี 2030 เพิ่มขึ้น 1.7 เท่า ตามการเติบโตของตลาดหุ่นยนต์โลกตามข้อมูลอ้างอิงจาก International Federation of Robotics
(IFR) และ Japan Robot Association ที่คาดการณ์ว่าในปี
2030 ความต้องการหุ่นยนต์อุตสาหกรรมทั่วโลกจะเติบโต 1.7 เท่าจากปี 2021
ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนา
“อุปกรณ์ควบคุมสำหรับเครื่องจักรกลและหุ่นยนต์”
เพื่อบรรลุเป้าหมายเพิ่มกำลังการผลิตเครื่องจักรกลและหุ่นยนต์อุตสาหกรรม
ทำให้ซัพพลายเชนชิ้นส่วนที่มั่นคงเป็นสิ่งสำคัญ
จึงจำเป็นต้องเสริมกำลังการผลิตและพัฒนาเทคโนโลยีให้ก้าวหน้า
โดยเฉพาะอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการควบคุม
พร้อมกับการพัฒนาคนให้ใช้ประโยชน์จากเครื่องจักรกลและหุ่นยนต์อุตสาหกรรมอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย
รัฐบาลญี่ปุ่นจึงเตรียมให้การสนับสนุนภาคส่วนต่าง
ๆ ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ
สำหรับอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมเครื่องจักรกลและหุ่นยนต์ดังต่อไปนี้
· ชุดควบคุมการทำงาน
CNC
(Computer Numerical Control)
· กลไกเซอร์โว
(Servo
mechanism) เช่น เซอร์โวมอเตอร์, ชุดควบคุมการขับเคลื่อนเซอร์โว
(Servo Amplifier)
· ระบบ
CNC
ที่รวมชุดควบคุมและกลไกเซอร์โวเข้าด้วยกัน
· Reduction
drive
· PLC
(Programmable logic Control)
โดยสื่อญี่ปุ่นหลายสำนักระบุ
รัฐบาลญี่ปุ่นจะให้เงินสนับสนุนการลงทุนและการวิจัยพัฒนาข้างต้นเป็นมูลค่า 1
ใน 3 ของเงินลงทุนทั้งหมด
ที่มา : M Report
วันที่ 17 พฤษภาคม 2566