“แคสเปอร์สกี้” ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยไซเบอร์โลก
เปิดรายงานความปลอดภัยไซเบอร์ล่าสุด พบไทยเจอเหตุการณ์โจมตีที่เป็นอันตรายจำนวน 364,219 เหตุการณ์ เกิดจากเซิร์ฟเวอร์ที่โฮสต์ในประเทศไทย สูงกว่าปีที่แล้ว 89.48% หรือ 192,217 เหตุการณ์
นายเซียง
เทียง โยว ผู้จัดการทั่วไปประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แคสเปอร์สกี้
กล่าวว่า ประเทศไทย มีสถิติที่โดดเด่นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โดยปี 2562 มีการบันทึกเหตุการณ์โจมตีมากที่สุดกว่า 1.08
ล้านเหตุการณ์ ตัวเลขดังกล่าวลดลงในช่วงที่เกิดโรคระบาดในปี 2563-2564 อย่างไรก็ตาม ตัวเลขที่พุ่งสูงขึ้นได้บันทึกไว้อีกครั้งล่าสุดในปี 2565
ช่วง
3
ปีที่ผ่านมากลายเป็นบททดสอบที่ยิ่งใหญ่สำหรับภาคธุรกิจ
องค์กรทุกขนาดถูกบังคับให้เปลี่ยนลำดับความสำคัญ
โดยมุ่งเน้นที่การปลดล็อกเพื่อเปลี่ยนไปสู่การทำงานจากระยะไกล
ในขณะที่ยังต้องต่อสู้กับปัญหาเงินเฟ้อ ปัญหาซัพพลายเชน
และการลงทุนในแหล่งรายได้ใหม่
อย่างไรก็ดี
เศรษฐกิจหลังแพร่ระบาดดูเหมือนจะได้รับการเตรียมพร้อมอย่างดี
สำหรับอนาคตที่สดใสของประเทศไทย โดยปีนี้
รัฐบาลไทยมีเป้าหมายเร่งรัดการลงทุนของรัฐ เพื่อกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจ
กระทรวงการคลังยังคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจจะขยายตัว 3-4% ในปี 2566
โดยการเติบโตได้แรงหนุนจากแผนรัฐบาลในการเร่งการลงทุนของรัฐในโครงการโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ
ขณะที่ ภาพรวมของภัยคุกคามทางไซเบอร์นั้นเกินกว่าที่คาดการณ์ไว้
อย่างไรก็ตาม
ปี 2565 ทั่วโลกระบบตรวจจับของแคสเปอร์สกี้ ยังค้นพบไฟล์ที่เป็นอันตรายโดยเฉลี่ย 400,000 ไฟล์ทุกวัน ซึ่งเพิ่มขึ้น 5% เมื่อเทียบกับปี 2564 ขณะที่ พบว่า
แรนซัมแวร์ซึ่งเป็นมัลแวร์ที่ล็อกอุปกรณ์หรือไฟล์นั้นมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องทั้งด้านคุณภาพและปริมาณ
มีสัดส่วนการตรวจพบแรนซัมแวร์เพิ่มขึ้น 181% ทุกวัน
ในรายงานระบุด้วยว่า
ประเทศไทยมีจำนวนเหตุการณ์แรนซัมแวร์ที่ถูกบล็อกมากเป็นอันดับสอง (82,438 เหตุการณ์)
จากเหตุการณ์ที่กำหนดเป้าหมายโจมตีเป็นองค์กรธุรกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้งหมด
304,904 เหตุการณ์
ขณะที่ก่อนหน้านี้
แคสเปอร์สกี้ตรวจพบความพยายามในการคุกคามเว็บจำนวน 17,295,702 รายการบนคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ที่เข้าร่วม Kaspersky Security
Network หรือ KSN ในไทย
ซึ่งมีสัดส่วนสูงกว่าปีที่แล้ว 0.46% หรือ 17,216,656 รายการ คิดเป็นผู้ใช้ชาวไทยจำนวน 29.1% ที่จะถูกโจมตีจากภัยคุกคามทางออนไลน์
ทำให้ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 109 ของโลก
การโจมตีผ่านเว็บเบราว์เซอร์
เป็นวิธีการหลักในการแพร่กระจายโปรแกรมที่เป็นอันตราย
การใช้ประโยชน์จากช่องโหว่ในเบราว์เซอร์และปลั๊กอิน รวมถึงวิศวกรรมสังคม
เป็นวิธีที่อาชญากรไซเบอร์ใช้เจาะระบบโดยทั่วไปมากที่สุด
ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ
วันที่ 20 มีนาคม 2566