Intel
เตรียมปล่อยชิปคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ที่จีน ที่สามารถประมวลผล AI
ได้ แต่ลดสเปคลง ผลจากสงครามชิป ระหว่างจีนกับสหรัฐฯ
Intel
จะเปิดตัวคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ที่จีน ที่สามารถประมวลผล AI ได้ แต่ลดความสามารถลดลงสำหรับตลาดจีนโดยเฉพาะ
เพื่อให้สอดคล้องกับการควบคุมการส่งออกและการคว่ำบาตรของสหรัฐฯ ที่มีต่อจีน
จากการรายงานของสำนักข่าวด้านเทคดนโลยี The Register ที่รายงานแผนจากหนังสือชี้แจงข้อมูลกับนักลงทุน
หรือ สมุดปกขาวเป็นครั้งแรก
โดยชิปทั้งสองรุ่น
ชื่อ HL-328 และ HL-388
มีกำหนดเปิดตัวในเดือนมิถุนายนและกันยายน ตามลำดับ
ซึ่งอ้างอิงจากสมุดปกขาวบนเว็บไซต์ของบริษัท ที่ลงวันที่ 12 เมษายน ที่ผ่านมา
ขณะที่คู่แข่งของ
Intel
อย่าง Nvidia มีแผนสำหรับชิปที่จะขายเฉพาะในประเทศจีน
3 ตัวหลังจากที่ สหรัฐฯ เข้มงวดเรื่องกฎเกณฑ์ขีดความสามารถของชิป AI ที่สามารถจัดส่งไปยังจีนได้ ตั้งแต่ปีที่แล้ว
สงครามชิป
คืออะไร ?
สงครามชิป
หรือ สงครามเซมิคอนดักเตอร์ คือ สงครามการค้าโดยไม่ใช้อาวุธในการทำสงคราม
แต่ใช้การกีดกันทางการค้าในรูปแบบต่าง ๆ ต่อประเทศคู่แข่ง อาทิ มาตรการทางภาษี
และการงดการส่งออกไปยังประเทศนั้น ๆ โดย 2 ประเทศที่ทำสงครามกันเป็นหลักคือ สหรัฐฯ
และจีน
จุดเริ่มต้นของสงครามชิปนี้เกิดขึ้นมาตั้งแต่วันที่สหรัฐฯ
แบน Huawei
บริษัทด้านเทคโนโลยีของจีนที่กำลังตีตื้นขึ้นมา ทำให้บริษัทสหรัฐฯ
อย่าง Google ต้องถอด Play Store ออกจากมือถือ
Huawei ทั้งหมด เพื่อปฏิบัติตามกฎหมาย
ตั้งแต่ช่วงก่อนโควิด-19 และสภานการณ์เริ่มรุนแรขึ้น เมื่อ โจ ไบเดน
ประธานธิบดีสหรัฐฯ ออกมาตรการให้บริษัทผลิตชิปสัญชาติอเมริกัน อย่าง Intel และ Nvidia ยุติการขายสินค้าในจีนแลกกับมาตรการช่วยเหลือทางการเงินให้มาตั้งโรงงานผลิตในสหรัฐฯ
แทน
สาเหตุส่วนหนึ่งที่สหรัฐฯ
ก่อ สงครามชิป กับจีนเป็นผลมาจากการที่จีนสามารถพัฒนาเทคโนโลยีต่าง ๆ
รวมถึงเทคโนโลยีทางการทหารใกล้เคียงกับสหรัฐฯมากขึ้นในช่วงระยะเวลากว่า 10
ปีที่ผ่านมา จนใกล้จะวิ่งตามทันสหรัฐฯแล้ว เป็นผลมาจากบริษัทเอกชนสหรัฐฯ
เองที่ใช้ระบบทุนนิยม ขายสินค้าประเภทเดียวกันกับที่ขายในสหรัฐฯให้จีน
จึงทำให้จีนใช้เทคโนโลยี อาทิ ชิปประมวลผล ในการพัฒนาเทคดนโลยีของตนเอง
ขณะที่จีนก็กำลังทุ่มเงินมหาศาลในการลงทุนให้กับบริษัทผู้พัฒนาเทคโนโลยีของตนเอง
อย่าง Huawei
ให้สามารถพัฒนาชิปโดยไม่พึ่งพาบริษัทสหรัฐฯ
ซึ่งหากจีนสามารถทำชิปที่ความสามารถใกล้เคียงหรือเหนือกว่าสหรัฐฯ ได้
เราอาจได้เห็นมาตรการที่รุนแรงกว่านี้ก็ได้
ผลกระทบจากสงครามชิป
ที่เห็นได้ชัดเจน คือ อุปกรณ์และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ขาดตลาด
ทั้งผลจากความต้องการช่วงโควิด-19 ที่สูงกว่าปกติหลายร้อยเท่า
แต่ปริมาณการผลิตเท่าเดิม ซึ่งส่งผลมาจนถึงปัจจุบัน และการกีดกันทางการค้าระหว่าง
สหรัฐฯและจีน
อย่างไรก็ตาม
หนึ่งในประเทศที่ได้รับประโยชน์จากสงครามการค้าครั้งนี้คือ เวียดนาม
เพราะเมื่อสหรัฐฯ กำลังจะกีดกันการค้าจากจีน ทำให้โรงงานต่าง ๆ ของบริษัทสหรัฐฯ
หรือสินค้าที่จะไปขายในสหรัฐฯ ต้องลี้ภัยสงคราม
และเวียดนามก็เป็นประเทศที่จีจุดยุทธศาสตร์ที่ดี คือมีพรมแดนติดกับจีน
ได้มาตรการเรื่องภาษีน้ำเข้า-ส่งออกและไม่ถูกสหรัฐฯแบน ดังนั้นถ้าองค์กรต่าง ๆ
ไปตั้งโรงงานผลิตในเวียดนาม (แม้ชิ้นส่วนต่าง ๆ จะมาจากจีนแต่ประกอบในเวียดนาม)
ก็อาจจะพอหลีเลี่ยงภัยสงครามนี้ได้ ?
ที่มา : Springnews
วันที่ 19 เมษายน 2567