ดีอีดันสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
(สคส.) เปิดทำการศูนย์บริการ
รับเรื่องร้องเรียนและให้คำปรึกษาการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA
Center) อย่างเป็นทางการ ระบุมีแนวคิดแก้กฎหมาย
หลังใข้เวลาดำเนินการนาน 90 วัน แต่ความเสียหายเกิดไปแล้ว
นายประเสริฐ
จันทรรวงทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือ ดีอี
เป็นประธานใน พิธีเปิดศูนย์บริการ รับเรื่องร้องเรียน
และให้คำปรึกษาการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA Center) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นศูนย์กลางการให้บริการด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลอย่างครบวงจร
ที่จะช่วยสร้างความเชื่อมั่นและตอบสนองความต้องการให้กับทุกภาคส่วน
อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มช่องทางการติดต่อให้กับประชาชนและหน่วยงานต่างๆ
ในการติดต่อมายัง PDPC ได้อีกหนี่งช่องทาง
ทั้งนี้ การบริการที่ครบวงจรใน PDPA Center ประกอบไปด้วย
1.
ศูนย์บริการให้คำปรึกษาและตอบข้อหารือเกี่ยวกับกฎหมาย PDPA
2.
ศูนย์บริการการรับเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับการไม่ปฎิบัติตามกฎหมาย PDPA
3.
ศูนย์เฝ้าระวังการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล (PDPC Eagle Eye)
4.
ศูนย์บริการความรู้และวิชาการด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
5.
ศูนย์ประสานงานสำหรับเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (DPO)
และให้คำแนะนำหลักการกำกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
6.
ศูนย์ขับเคลื่อนความร่วมมือด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
7.
ศูนย์ส่งเสริมและผลักดันการใช้มาตรฐานการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
รมว.ดีอี
กล่าวว่า เรื่องของกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
เป็นเรื่องที่รัฐบาลชุดนี้ให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก
ซึ่งผมได้กำหนดแนวทางและมาตรการยกระดับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของประเทศ โดยให้
PDPC
ดำเนินการแบบเชิงรุก
และจัดตั้งศูนย์เฝ้าระวังการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล PDPC Eagle Eye เพื่อเฝ้าระวัง ติดตาม ตรวจสอบ และกำกับดูแล หน่วยงานต่างๆ
ทั้งภาครัฐและเอกชน ให้ปฏิบัติตามกฎหมาย PDPA อย่างเคร่งครัด
และป้องปราม
ไม่ให้หน่วยงานเผยแพร่ข้อมูลส่วนบุคคลของประชาชนโดยไม่เหมาะสมบนช่องทางสาธารณะ
หากตรวจพบหน่วยงานมีการทำผิดอย่างต่อเนื่องและมีผลกระทบร้ายแรง ก็จะต้องมีลงโทษ
มีการปรับทางปกครองอย่างเด็ดขาดตามกฎหมาย PDPA ซึ่งในรอบ 2
เดือนที่ผ่านมา ได้มีการตรวจสอบเชิงรุก
มีการสกัดการรั่วไหลข้อมูลส่วนบุคคลไปแล้วกว่า 5,000 เคส
และร่วมตรวจสอบเพื่อขยายผลสู่การจับกุมผู้ต้องหาซื้อขายข้อมูลส่วนบุคคลแล้ว 5 ราย
"ผมได้สั่งการให้เข้มงวด
เรื่องของการป้องกันและปราบปรามการลักลอบซื้อขายข้อมูลส่วนบุคคลของประชาชนโดยมิชอบ
ซึ่งที่ผ่านมา PDPC ได้ประสานความร่วมมือกับกองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี
(ตำรวจไซเบอร์)
ในการสืบสวนและจับกุมผู้กระทำความผิดมาลงโทษอย่างเด็ดขาดแล้วหลายราย"
นายประเสริฐ
กล่าวว่า นอกจากนี้ จะเสนอให้มีการปรับแก้กฎหมาย PDPA เพื่อเพิ่มบทลงโทษกับผู้ที่ลักลอบซื้อขายข้อมูลส่วนบุคคลโดยมิชอบ
ให้มีโทษทางอาญาที่รุนแรงยิ่งขึ้นไปอีก และมีความเด็ดขาด ยอมความไม่ได้
เพื่อเพิ่มประสิทธิผลในการป้องปรามไม่ให้เกิดการลักลอบซื้อขายข้อมูลส่วนบุคคลของประชาชนไปสู่กลุ่มมิจฉาชีพ
ซึ่งจะผลักดันให้มีการนำเรื่องปรับแก้กฎหมายเข้าสู่สภาอย่างเร่งด่วนต่อไป
ซึ่งขั้นตอนต่อไปจะมีการพิจารณาลดขั้นตอนกระบวนการจากเดิมใช้เวลานานกว่า 90
วันแต่ความเสียหายได้เกิดขึ้นไปแล้ว ดังนั้น จะหารือกับ
กรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (สคส.) เป็นหน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่และอำนาจตามมาตรา
43 และ มาตรา 44 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลพ.ศ.2562
เพื่อให้การขับเคลื่อนการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของประเทศเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพตอบโจทย์ความต้องการของประชาชนอย่างครบถ้วน
และจะมีการพิจารณาบทลงโทษเพิ่มเติมด้วย
ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ
วันที่ 30 มกราคม 2567