เด็กๆ
และนักเรียนทุกคนส่วนใหญ่มีครูคนโปรดกันทั้งนั้น ในอนาคตครูคนนั้นอาจจะกลายเป็น
“แชตบอต AI”
ก็ได้ แต่ความได้เป็นไปได้นั้น
ต้องรอดูว่าศักยภาพของเอไอจะมีประสิทธิภาพมากพอที่จะเป็นนวัตกรรมเทคโนโลยีการศึกษาที่ยิ่งใหญ่
หรือความผิดพลาดทางเทคโนโลยีกันแน่
การศึกษาที่ขับเคลื่อนด้วยเอไอมีแนวโน้มที่จะเริ่มต้นขึ้นด้วย
2 ประเภท ซึ่งแต่ละประเภทจะมีผลกระทบที่แตกต่างกันมาก
ประเภทแรกจะคล้ายกับแพลตฟอร์มการเรียนรู้ เช่น คาน อะคาเดมี่ (Khan
Academy), Duolingo, GPT-4 และบริการอื่นๆ อีกมากมาย
เมื่อเวลาผ่านไป
แพลตฟอร์มที่ให้ข้อมูลเหล่านี้จะกลายเป็นรูปแบบมัลติมีเดียมากขึ้น
ตอบสนองได้เร็วขึ้น มีคําตอบที่ลึกซึ้งมากขึ้น และสร้างแบบทดสอบ
แบบฝึกหัดที่ดีมากขึ้น ตอบโจทย์รูปแบบการเรียนรู้รายบุคคล
เช่นการชอบเรียนวิดีโอมากกว่าข้อความ หรือการพูด แม้กระทั่งต้องการบทเรียนที่ช้าลงหรือเร็วขึ้น
ปัจจุบันค่าบริการ
Khan
Academy ฟรี และ GPT-4 มีค่าใช้จ่าย 20
ดอลลาร์ หรือราว ๆ 700 บาทต่อเดือน
ซึ่งเชื่อว่าตลาดนี้จะมีการแข่งขันที่สูงขึ้นในอนาคตอย่างแน่นอน
แชตบอตอาจทำให้การศึกษาสนุกขึ้น
แต่คนส่วนใหญ่ก็ยังคงตั้งคำถามว่า AI แล้วจะสอนสนุกแค่ไหนเชียว?
เพราะอย่าลืมว่ามนุษย์เป็น “สัตว์สังคม”
คนส่วนใหญ่ยังคงชอบมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนและครอบครัว ซึ่งแชตบอต AI เพื่อการศึกษาจะไม่ได้สนุกสนานกว่ารูปแบบการศึกษาปกติ
แชตบอต
AI
อาจแทนที่ครูในระดับหนึ่ง
และสามารถให้ข้อเสนอแนะเป็นรายบุคคลได้มากขึ้น
แต่ก็ไม่สามารถเข้ามาแทนที่รูปแบบการเรียนรู้ได้ทั้งหมด
สิ่งที่เป็นไปได้มากที่สุด
คือ แชตบอต AI ที่ถูกตั้งโปรแกรมให้เป็นเพื่อนของลูกคุณ
ซึ่งเอไอจะเป็นเพื่อนแบบที่ลูกของคุณต้องการ
เมื่อเวลาผ่านไปแชตบอตเหล่านี้จะสอนสิ่งที่มีค่าแก่เด็กๆ
รวมถึงเกี่ยวกับคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ แต่มันจะเกิดขึ้นอย่างช้าๆ อย่างละเอียด
นี่อาจเป็นเส้นทางที่แชตบอต
AI
จะได้รับความนิยมและมีประสิทธิภาพมากที่สุดผ่านโมเดล friendship-first
หรือ “มิตรภาพต้องมาก่อน” ในตอนนั้นแชตบอต AI ไม่จำเป็นต้องเป็นเพื่อนที่สนุกกว่าการใช้เวลากับเพื่อนๆ
เพราะเอไอจะดึงดูดเด็กๆ ให้สนใจหัวข้อบางหัวข้อที่แชตบอต AI หยิบยกขึ้นมาได้
และแชตบอตสามารถให้ข้อมูลและแรงบันดาลใจ
พ่อแม่หลายอาจจะรู้สึกแปลกๆ
ในการเริ่มต้นความสัมพันธ์ระหว่างแชตบอต AI อย่างไรก็ตาม
โมเดล friendship-first เป็นสูตรที่มีแนวโน้มมากที่สุดสำหรับการศึกษาที่ขับเคลื่อนด้วยเอไอ
และคําถามที่ใหญ่กว่าอาจไม่ใช่ว่ามันจะได้ผลหรือไม่
แต่พ่อแม่สบายใจกับรูปแบบการศึกษาผ่านเอไอแค่ไหน
ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ
วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2567