รบส
สุวรรณมาศ ผู้นำด้านนวัตกรรม เซลส์ฟอร์ซ ประเทศไทย เปิดมุมมองว่า การนำผู้ช่วย AI
หรือ “AI Assistant” ที่สามารถตอบคำถาม
สร้างคอนเทนต์ และทำงานต่างๆ
ได้แบบอัตโนมัติมาใช้ในปัจจุบันชี้ให้เห็นถึงศักยภาพที่ยิ่งใหญ่ในการที่ AI
จะทำให้ธุรกิจของเรามีประสิทธิภาพมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม
ทุกครั้งที่เทคโนโลยี AI ก้าวหน้าไปอีกขั้น
ก็มักจะมีข้อกังวลด้านจริยธรรมตามมาด้วยเสมอ
บางครั้งเราอาจไม่สามารถอธิบายได้ว่าทำไม AI ถึงทำในสิ่งที่มันทำ
หรือกำจัดความไม่ถูกต้อง (Inaccuracy) ความเป็นพิษ (Toxicity)
หรือข้อมูลที่คลาดเคลื่อน (Misinformation) ออกไปได้ทั้งหมด
หากเป็นเพียงแค่
AI
แนะนำผลิตภัณฑ์ที่ไม่เหมาะสม อาจถือว่าเป็นเรื่องไม่ร้ายแรงมากนัก
แต่หากเป็นกรณีที่ AI ดำเนินการผิดพลาดในประเด็นสำคัญที่มีความเสี่ยงสูง
เช่น การเงินส่วนบุคคล หรือข้อมูลทางการแพทย์
ย่อมทำให้เกิดความกังวลอย่างมากแน่นอน
·
เดินหน้ายุทธศาสตร์ 'AI
แห่งชาติ'
ผลการศึกษาเรื่องปัญญาประดิษฐ์เชิงสร้างสรรค์
(Generative
AI) ในประเทศไทย ซึ่งดำเนินการโดย YouGov ในปีที่ผ่านมา
พบว่า พนักงานชาวไทยจำนวนมากต่างเห็นประโยชน์ของ AI
อย่างไรก็ตาม
ผลการศึกษานี้ได้เน้นย้ำถึงความจำเป็นที่จะต้องมีนโยบายที่ชัดเจนและการฝึกอบรม
เพื่อให้แน่ใจว่าการใช้ AI นั้นเป็นไปอย่างมีจริยธรรมและความรับผิดชอบ
โดยผู้ตอบแบบสอบถามชาวไทยถึง
77% แสดงความกังวลต่อการที่บริษัทของตนเองยังไม่มีนโยบายที่กำหนดแนวทางด้านการใช้ AI
ได้เห็นแล้วว่าได้เกิดอะไรขึ้นเมื่อเทคโนโลยีพัฒนาก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็วโดยไม่คำนึงถึงผลกระทบ
ผู้คนอาจสูญเสียโอกาสหรือถูกทิ้งไว้ข้างหลัง
สถานการณ์เดียวกันนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับ AI เช่นกัน
ซึ่งเป็นความจริงที่เกี่ยวข้องกับองค์กรไทยทุกแห่งไม่ว่าจะอยู่ในระดับสถานะใดของการนำ
AI มาใช้ หรือมีความก้าวหน้าทาง AI ในองค์กรเพียงใด
·
เสริมพลังให้ “คน”
ควบคุม AI
เนื่องจาก
AI
มีความซับซ้อนเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ
จึงเป็นเรื่องสำคัญมากที่เราต้องคิดหาวิธีที่จะนำพลังแห่งนวัตกรรมของ AI มาใช้อย่างระมัดระวังเพื่อป้องกันความเสี่ยงและอันตรายที่อาจเกิดขึ้น
เพื่อบรรลุเป้าหมายนี้ จำเป็นต้องให้มนุษย์เป็นผู้นำในการกำกับดูแลการทำงานของ AI
โดยสามารถออกแบบฟีเจอร์ที่ทรงพลัง
มีความน่าเชื่อถือ
และทำงานครอบคลุมทั้งระบบเพื่อให้เทคโนโลยีมุ่งเน้นไปยังจุดที่ต้องใช้การตัดสินใจอย่างรอบคอบและต้องการความสนใจมากที่สุด
AI
ควรได้รับการออกแบบให้มีมนุษย์เป็นผู้นำ เสริมพลังให้ “คน”
สามารถควบคุม AI และให้ความสำคัญต่อการตัดสินใจของมนุษย์เป็นลำดับแรก
นั่นหมายถึงการออกแบบระบบ AI ที่สามารถใช้ประโยชน์อันสูงสุดจากการผสมผสานความชาญฉลาดของทั้งมนุษย์และปัญญาประดิษฐ์เข้าด้วยกัน
การมอบหมายให้
AI
ตรวจสอบและสรุปข้อมูลลูกค้าหลายล้านราย
จะช่วยปลดล็อคศักยภาพและประสิทธิภาพที่น่าทึ่งให้กับองค์กร
และด้วยการให้มนุษย์เข้ามามีส่วนร่วมและใช้วิจารณญาณในสิ่งที่ AI ไม่สามารถทำได้
จึงจะสามารถสร้างความไว้วางใจในการใช้เทคโนโลยีได้อย่างแท้จริง
·
‘3 แนวทาง’
ช่วยมนุษย์เป็นผู้นำ
สำหรับ
แนวทางสำคัญ 3 ประการ ที่จะช่วยให้มนุษย์ยังคงเป็นผู้นำในการใช้ AI
ประกอบด้วย 1. การสร้างคำสั่งหรือพรอมพท์ (Prompt) ที่มีประสิทธิภาพ ช่วยให้เกิดการทำงานอัตโนมัติอย่างแท้จริง:
พรอมพท์ที่ส่งไปยังโมเดล generative AI นั้นมีอิทธิพลอย่างมากและมีศักยภาพในการกำหนดทิศทางของผลลัพธ์ได้หลากหลายล้านรูปแบบ
รวมถึงสามารถคาดเดาผลลัพธ์ที่อาจเกิดขึ้นได้ในเวลาใกล้เคียงกับเวลาจริงนั้น
จะช่วยให้องค์กรมั่นใจว่าจะได้รับผลลัพธ์จากการใช้ AI ตรงตามที่ต้องการ
นอกจากนี้
ยังเปิดโอกาสให้สามารถปรับแต่งและแก้ไขพรอมพท์ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่มีประโยชน์
แม่นยำ และเกี่ยวข้องกับบริบทมากยิ่งขึ้น
2.
เส้นทางการตรวจสอบ (Audit Trails) สามารถช่วยค้นหาสิ่งที่เรามองข้ามไป:
การมี Audit Trails ที่ละเอียดและครบถ้วน
จะช่วยให้ลูกค้าสามารถประเมินประวัติการทำงานของ AI ได้อย่างถูกต้องและระบุได้ว่าจุดใดที่ผู้ช่วย
AI ทำงานได้อย่างถูกต้องหรือผิดพลาด
นอกจากนี้
Audit
Trails ยังสามารถช่วยระบุปัญหาในชุดข้อมูลขนาดใหญ่ที่มนุษย์อาจมองข้ามไป
มันจึงเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะเสริมสร้างความสามารถในการใช้วิจารณญาณ
เพื่อปรับการทำงานของ AI ให้สอดคล้องกับความต้องการขององค์กร
3.
การควบคุมข้อมูล (Data Control) ช่วยให้รักษาความปลอดภัยของข้อมูลได้ดียิ่งขึ้น:
การออกแบบระบบควบคุมดูแลที่แข็งแกร่งจะช่วยให้องค์กรสามารถดำเนินการกับข้อมูลได้อย่างปลอดภัย
ทำให้องค์กรสามารถนำข้อมูลเชิงลึกที่ขับเคลื่อนด้วย AI มาใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ระบบควบคุมข้อมูลต่างๆ
เช่น การกำหนดสิทธิ์การใช้งาน การควบคุมการเข้าถึงข้อมูล การจำแนกประเภทข้อมูลด้วย
Metadata
Field จะช่วยเสริมสร้างความสามารถให้ทั้งมนุษย์และโมเดล AI รักษาความปลอดภัยและจัดการข้อมูลที่มีความละเอียดอ่อนได้ดียิ่งขึ้น
การปฏิวัติเทคโนโลยีด้าน
AI
ที่กำลังเกิดขึ้นไม่เพียงเกี่ยวข้องกับนวัตกรรมทางเทคโนโลยีเท่านั้น
แต่ยังรวมถึงการเสริมสร้างความสามารถของมนุษย์ต่อการควบคุมและใช้งาน AI อย่างมีประสิทธิภาพและน่าเชื่อถือ
เมื่อ
AI
และมนุษย์ร่วมมือกันพัฒนาและทำงานร่วมกัน
จะสามารถใช้ประโยชน์จากความสามารถของ AI โดยที่มนุษย์สามารถทำในสิ่งที่เราถนัด
ซึ่งคือการสร้างสรรค์ การใช้วิจารณญาณ และเชื่อมโยงกันได้อย่างลึกซึ้งมากขึ้น
การผสมผสานระหว่าง
AI
และมนุษย์อย่างเหมาะสมจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้แก่องค์กร
ทำให้พนักงานได้ทำงานอย่างเต็มศักยภาพ และท้ายที่สุดคือทำให้ AI น่าเชื่อถือและได้รับความไว้วางใจในการทำงานมากยิ่งขึ้น
น่าสังเกตว่าจากรายงาน
State
of AI Readiness ของ เซลส์ฟอร์ซ พบว่า
ประเทศไทยสามารถยกระดับความพร้อมด้าน AI ในปี 2566
ขึ้นมาได้อย่างน่าสนใจเมื่อเทียบกับปี 2564 และเป็นอันดับ 9 จากทั้งหมด 12
ประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่ทำการประเมิน
แต่ทั้งนี้ประเทศไทยยังจำเป็นต้องมุ่งมั่นพัฒนา AI อย่างต่อเนื่อง
และบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ในแผนยุทธศาสตร์ AI แห่งชาติ
ที่มา
:
กรุงเทพธุรกิจ
วันที่
28 มิถุนายน 2567