ท่าทีของบริษัทและทัศนคติของผู้บริหารที่มีต่อโครงสร้างพื้นฐานคลาวด์ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมากในช่วงห้าปีที่ผ่านมา...
ฮัน
ชอน กรรมการผู้จัดการ ประจำเอเชียตะวันออกเฉียงใต้-ไต้หวัน-ฮ่องกง-เกาหลีใต้
นูทานิคซ์ เผยว่า ตั้งแต่ช่วงปี 2561 ผู้นำด้านไอทีส่วนใหญ่คาดการณ์ไว้ว่า
ไม่วันใดก็วันหนึ่งพวกเขาจะรันเวิร์กโหลดทางธุรกิจทั้งหมดอย่างเป็นการเฉพาะบนไพรเวทคลาวด์หรือพับลิคคลาวด์
ห้าปีต่อมา
รายงาน Enterprise
Cloud Index (ECI) การวิจัยระดับโลกของนูทานิคซ์
ได้เผยให้เห็นถึงความจริงที่เกิดขึ้นซึ่งแตกต่างกันมากกับที่องค์กรส่วนใหญ่เคยคาดการณ์ไว้
ผลวิจัยระบุว่า
องค์กรส่วนใหญ่เห็นว่า การรันเวิร์กโหลดบนพับลิคคลาวด์,
ศูนย์ข้อมูลที่อยู่ภายในองค์กรและที่ edge พร้อมๆ
กัน เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ และมีประโยชน์มาก
โดย
60% ขององค์กรที่ตอบแบบสำรวจ ใช้สภาพแวดล้อมไอทีหลากหลายประเภทอยู่แล้ว
และจำนวนผู้ใช้ลักษณะนี้กำลังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
ประเด็นท้าทาย
‘ไอทียุคใหม่’
รายงานระบุด้วยว่า
เหตุผลหลักจากหลายๆ เหตุผล ที่ธุรกิจใช้ตัดสินใจว่าโครงสร้างพื้นฐานแบบไฮบริดเป็นโซลูชันที่ดีที่สุด
คือเหตุผลด้าน ความปลอดภัยของข้อมูล ความยืดหยุ่น และค่าใช้จ่าย
โดยความซับซ้อนของสภาพแวดล้อมไอทียุคใหม่มาพร้อมกับการสร้างข้อมูลที่เพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดด
จึงเป็นความท้าทายที่คนทำงานด้านไอทีต้องเผชิญ
ปัจจุบัน
ความสามารถในการมองเห็นความเป็นไปของข้อมูลกลายเป็นหนึ่งในประเด็นร้อนที่สุดของบริษัทต่างๆ
และผลวิจัย ปีนี้เผยให้เห็นว่า ผู้บริหารส่วนใหญ่ (60%)
ไม่สามารถมองเห็นได้อย่างครบถ้วนว่าข้อมูลต่างๆ ของบริษัทจัดเก็บอยู่ที่ใด
“การไม่รู้ว่าข้อมูลทั้งหมดขององค์กรอยู่ที่ใดเป็นความเสี่ยงอย่างมากต่อองค์กร
เมื่อใดก็ตามที่บริษัทมองไม่เห็นความเป็นไปของข้อมูลอย่างครบถ้วน
บริษัทจะเสี่ยงต่อการละเมิดและการรั่วไหลของข้อมูลมากขึ้น”
นอกจากนี้
มีโอกาสที่อาจตอบสนองต่อเหตุการณ์ต่างๆ ได้ช้าลง และกู้คืนข้อมูลได้ยากขึ้น
หรืออาจไม่สามารถปฏิบัติตามกฎระเบียบต่างๆ
ซึ่งเป็นการเพิ่มประเด็นปัญหาให้ต้องแก้ไขมากขึ้น
บริหารไม่ดี
กระทบ ‘ซิเคียวริตี้’
โดยสรุปแล้ว
เมื่อไม่รู้ว่าข้อมูลอยู่ที่ใด
อาจทำให้ธุรกิจขาดภาพรวมในการนำมาตรการด้านความปลอดภัยที่จำเป็น เช่น
การควบคุมการเข้าถึงข้อมูล, การเข้ารหัส, และการติดตามตรวจสอบ มาใช้ได้อย่างครอบคลุม
ทำให้ไม่มีการป้องกันอย่างรัดกุมและถูกโจมตีได้ง่าย
ขณะเดียวกัน
การมองไม่เห็นอย่างชัดเจนว่าข้อมูลอยู่ที่ใด
อาจกระทบต่อประสิทธิภาพในการตอบสนองต่อสถานการณ์ต่างๆ
เพราะการขาดข้อมูลจะส่งผลต่อความสามารถของบริษัทในการประสานความร่วมมือเพื่อตอบโต้การโจมตีได้อย่างรอบด้าน
ซึ่งอาจทำให้เกิดความเสียหายอย่างมากและต้องใช้เวลาในการกู้คืนระบบมากขึ้น
ความท้าทายอีกประการหนึ่งคือ
เมื่อธุรกิจไม่สามารถมองเห็นข้อมูลของตนแม้เพียงส่วนเล็กๆ ก็ตาม
จะทำให้การใช้กลยุทธ์ด้านการลดความซ้ำซ้อนของข้อมูลและการสำรองข้อมูลทำได้ยากขึ้น
ซึ่งอาจทำให้ข้อมูลสูญหายจากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็น การโจมตีทางไซเบอร์ ระบบล่ม
หรือจากภัยธรรมชาติ
เปิดทางสู่
‘โอกาสใหม่ๆ’
ทุกวันนี้บริษัทต่างๆ
ยังต้องปฏิบัติตามข้อบังคับด้านการคุ้มครองข้อมูลที่มีอยู่จำนวนมาก
รวมถึงต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยถิ่นที่อยู่ของข้อมูลที่ประเทศต่างๆ กำหนดไว้
ดังนั้นหากบริษัทใดบริษัทหนึ่งไม่รู้ว่าข้อมูลของตนถูกเก็บไว้
ณ ที่ใด บริษัทนั้นอาจละเมิดข้อบังคับต่าง ๆ โดยไม่ตั้งใจ ทำให้ต้องจ่ายค่าปรับ
รับผลทางกฎหมาย และชื่อเสียงเสียหาย
อย่างไรก็ตาม
องค์กรจะมองเห็นสถานะและความเป็นไปของข้อมูลทั้งหมดได้อย่างสมบูรณ์ได้ด้วยการนำเทคโนโลยีโครงสร้างพื้นฐานที่ควบคุมการทำงานด้วยซอฟต์แวร์
และเครื่องมืออัตโนมัติต่างๆ มาผสานใช้งานร่วมกัน
เมื่อมองเห็นข้อมูลทั้งหมดก็จะสามารถปรับกระบวนการตัดสินใจต่างๆ
และดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ได้ผลลัพธ์ดีขึ้น
ซึ่งปลายทางก็คือเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน เพิ่มผลิตผล และสามารถทำกำไรได้มากขึ้น
มากกว่านั้น
เปิดทางให้องค์กรพบโอกาสใหม่ๆ
ที่ใช้ขับเคลื่อนการเติบโตและประสบความสำเร็จในสนามธุรกิจที่มีการแข่งขันสูงในปัจจุบัน
ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ
วันที่ 15 มิถุนายน 2566