OpenAI
นำเสนอวิดีโอที่สร้างจาก AI Sora ซึ่งเป็นคลิปวิดีโอที่เกิดจากการร่วมมือกับศิลปิน-ครีเอทีฟ
หลายวงการ ไปดูกันเลยว่า แต่ละคลิป สวยแบบใหม่แบบสับ
AI
กลายเป็นไวรัลขึ้นมาในสังคมไทย จากประเด็นที่ประเทศของเรากำลังจะมี
ผู้ประกาศข่าว AI เป็นครั้งแรก จาก “เนชั่นทีวี ช่อง 22”
ในความเป็นจริงแล้ว
AI
ถือเป็นเทคโนโลยีที่กำลังบูมราวกับดอกเห็ด หากออฟฟิศไหน
หรือหน่วยงานไหน ไม่ใช่ AI หรือ ไม่พยายามปรับตัว อาจจะ
"เสี่ยง" ที่จะไม่เวิร์ก ไม่ประสบความสำเร็จต่อไปในอนาคต
ปี
2024 ณ เข็มนาฬิกาดิจิทัลหมุนไปอยู่นี้
ถือว่า ทุกวงสนทนาต่างพูดเรื่อง AI และ
เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) กำลังทำให้
โลกใบนี้ก้าวข้ามขีดจำกัดหลาย ๆ อย่างไปโดยสิ้นเชิง
ขณะที่
ในวงการ ครีเอทีฟ หรือ วงการแห่งการสร้างสรรค์ นั้น ,
เริ่มมีสิ่งที่เกิดขึ้นใหม่ๆ เรื่อยๆ จาก AI โดย OpenAI นำเสนอตัวอย่างผลงานที่สร้างขึ้นจาก Sora เครื่องมือสร้างคลิปวิดีโอสั้นคุณภาพสูงด้วย
AI จากการป้อน prompt ซึ่งร่วมมือกับผู้ผลิตผลงานหลายราย
ตามที่มีข่าวก่อนหน้านี้ โดยมีทั้งศิลปิน, นักออกแบบ,
ครีเอทีฟ จนถึงผู้ผลิตภาพยนตร์ โดยผลงานแต่ละชิ้นนั้น ถือว่า
น่าจับตามอง
ผลงานแรกคือหนังสั้น
"Air
Head" โดยสตูดิโอ shy kids จากแคนาดา
เล่าเรื่องราวของมนุษย์หัวลูกโป่ง ซึ่งทีมผู้ผลิตบอกว่า Sora ทำให้พวกเขาสามารถผลิตผลงานแนวเซอร์เรียลที่เดิมทำได้ยาก
จึงเป็นโอกาสของผู้ผลิตที่จะนำเสนอเนื้อหาแบบใหม่
https://twitter.com/i/status/1772347121296883981
ขณะที่
ชิ้นต่อมา ผลงานต่อมา ผลิตโดย Paul Trillo ศิลปิน
นักเขียน และผู้กำกับ โดยใช้ Sora สร้างวิดีโอแนวทดลอง ซึ่งเขาบอกว่าข้อดีในการใช้ Sora คือไม่ถูกจำกัดด้วยเวลา งบประมาณ สามารถทดลองไอเดียใหม่ที่ไม่ซ้ำใครได้
https://twitter.com/i/status/1772317045499248733
ส่วนชิ้นต่อมา
เป็นของ Nik
Kleverov (นิค เคลเวรอฟ) หรือชื่อนามแฝงในวงการคือ Native
Foreign โดยเขาใน AI
ทำผลงานแนว Story Telling กับแบรนด์สินค้าหลายราย
บอกว่า Sora ช่วยสร้างคอนเซปต์เป็นภาพขึ้นมาได้ชัดเจนและรวดเร็ว
บนเวลาและงบประมาณที่จำกัด
https://twitter.com/i/status/1772317845931589925
นี่ถือเป็นตัวอย่างเล็กๆ
น้อยๆ ที่ เป็นผลงาน วิดีโอจาก AI ซึ่ง
ผลงานที่สร้างขึ้นจาก Sora เครื่องมือสร้างคลิปวิดีโอสั้นคุณภาพสูงด้วย
AI จากการป้อน Prompt
หากเราลอง
จะลองประมวลทุกสิ่งทุกอย่างที่ AI สามารถทำได้ในเวลานี้ ก็คงพอจะเห็นสัญญาณแล้วว่าในอนาคตต่อจากนี้
คงจะไม่มีอะไรที่เป็นไปไม่ได้ในโลกยุคเทคโนโลยี
อย่างไรก็ตาม
คงต้องบอกว่า ทุกวงการ ไม่ว่าจะคนทำงานศิลปะ หรือ คนทำงานในแขนงอื่นๆ
จำเป็นต้องมีการปรับตัว
คนที่ทำงานศิลปะในโลกยุค AI ว่า
เรียนรู้การใช้งาน AI ให้เป็น และอย่าให้ AI ทำงานทั้งชิ้น แต่ให้ AI เขียนภาพประกอบ เช่น Storytelling
หรือ Concept ที่ต้องการ
หรือหากคิดอะไรไม่ออกให้ AI ช่วยเป็นแรงบันดาลใจให้
แนะนำเป็นไกด์ไลน์ เท่านั้น
และ
ทักษะที่จำเป็น" ของมนุษย์ในอนาคตควรมี คือ การสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ
ด้วยตนเอง , และใช้ AI เป็นเพียงเครื่องมือหนึ่งเท่านั้น
,
สุดท้ายแล้ว
จิตวิญญาณที่แท้จริงของผลงาน มันยังอยู่ที่ คนสร้างสรรค์งาน และ AI
ไม่มีทางมีสิ่งนี้!
ที่มา : Springnews
วันที่ 29 มกราคม 2567