เมื่อ
AI
ฉลาดขึ้น หน่วยงานรัฐจึงปรับใช้ NECTEC ซุ่มพัฒนาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ปราบแก๊งคอลเซ็นเตอร์
จับมือทุกภาคส่วนแก้ปัญหาให้ประชาชน
ดร.ชัย
วุฒิวิวัฒน์ชัย ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC)
หรือ เนคเทค หน่วยงานภายใต้
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
หน่วยงานในกำกับของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
ระบุกับทีม Spring Tech ถึง กรณีปัญหาของแก๊งคอลเซ็นเตอร์
หลอกลวงประชาชน เมื่อไม่นานามานี้ ว่า นักวิจัยของ NECTEC กำลังพัฒนาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์
(AI) ที่จะมาช่วยแก้ปัญหาแก๊งคอลเซ็นเตอร์ให้ประชาชนได้
แต่ยังอยู่ในช่วงของการพูดคุยกับหน่วยงานอื่น ๆ
ถึงขอบข่ายของข้อมูลที่ต้องแบ่งปันระหว่างหน่วยงาน
เพราะเป็นข้อมูลละเอียดอ่อนและมีข้อกฎหมายบังคับอยู่จำนวนหนึ่ง
สำหรับข้อดีของการใช้ปัญญาประดิษฐ์ในการปราบแก๊งคอลเซ็นเตอร์ คือ ระบบสามารถตรวจสอบพฤติกรรมที่ต้องสงสัยได้อย่างไม่เห็นดเหนื่อย โดยการทำงานของมิจฉาชีพเหล่านี้คือใช้ระบบของตนเอง โอนเงินที่หลอกลวงประชาชนจากบัญชีม้าหนึ่ง ไปสู่อีกบัญชีหนึ่ง เป็นทอด ๆ หลาย ๆ ทอด และโอนออกไปต่างประเทศในที่สุดในเวลาเพียงไปกี่นาที ดังนั้นหากพัฒนาสำเร็จ ดร.ชัย เชื่อว่าจะสร้างความลำบากให้มิจฉาชีพได้และแก้ปัญหาให้ประชาชนได้ในที่สุด
ดร.ชัย วุฒิวิวัฒน์ชัย ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) หรือ เนคเทค
"วิธีการของคนร้ายคือถ้าเราถูกโอนไป
500 บาท
เขาก็จะถอนเงินออกจากบัญชีที่เราโอนไปทั้งหมดจนยอดเป็น 0
ซึ่งหากสามารถเชื่อมระบบได้ แล้วใช้ AI เข้าไปตรวจก็มีโอกาสทำให้เราอาญัติบัญชีได้อย่างทันท่วงทีและจำกัดความเสียหายให้เหยื่อได้รับเงินคืนได้"
ดร.ชัย วุฒิวิวัฒน์ชัย เล่า
เรื่องนี้สอดคล้องกับข้อมูลจาก พลตำรวจตรี ศิริวัฒน์ ดีพอ รองโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ระบุว่า ประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 17 มี.ค.-31 ธ.ค. 66 มีคนไทยถูกข่มขู่ทางโทรศัพท์จากแก๊งคอลเซ็นเตอร์ถึง 10,395 คดี โดยความเสียหายทั้งหมดคิดเป็นเงินถึง 2,402 ล้านบาท แต่นับตั้งแต่มีกฎหมายปราบบัญชีม้า (พ.ร.ก.มาตรการป้องกันและปราบปรามอาญากรรมทางเทคโนโลยี พ.ศ.2566) ขึ้นมาบังคับใช้ แนวโน้มของการจับกุมคนร้ายได้ก็มีมากขึ้นและมีโอกาสได้เงินคืนมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม AI
ปราบคอลเซ็นเตอร์ ยังอยู่ในขั้นตอนการพูดคยถึงขอบเขตการพัฒนากับหลาย
ๆ หน่วยงาน ดั้งนั้นคนไทยอาจต้องรออีกสักหน่อยก่อนที่เราจะได้ใช้ประโยชน์ของ AI
ในด้านการบริการสาธารณะและความปลอดภัยของประชาชน
ที่มา :
springnews
วันที่ 16
มกราคม 2567