มาตรการควบคุมการส่งออกชิปและเทคโนโลยีการผลิตของรัฐบาลสหรัฐฯ
ผลักดันบริษัทผลิตชิปอเมริกันย้ายฐานการผลิตออกจากจีนมายังอาเซียน
วันที่
10
กุมภาพันธ์ 2023 Nikkei Asia รายงานว่า
ผู้ผลิตเครื่องจักรและอุปกรณ์ผลิตชิปเซมิคอนดักเตอร์รายหลักจากสหรัฐกำลังย้ายจากจีนไปยังอาเซียน
สืบเนื่องจากมาตรการควบคุมการส่งออกของสหรัฐเมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา
แหล่งข่าว
5 รายของ Nikkei Asia รายงานว่า บริษัท Applied
Materials, Lam Research, และ KLA ผู้ผลิตอุปกรณ์ชิปรายใหญ่จากสหรัฐ
ซึ่งมีส่วนแบ่งตลาดอุปกรณ์ผลิตชิปทั่วโลกรวมแล้วเป็นสัดส่วน 35%
ต่างมีการโยกย้ายพนักงานที่ไม่ใช่ชาวจีนจากจีนไปยังสิงโปร์และมาเลเซียตั้งแต่ช่วงเดือนตุลาคม
2022
หรืออยู่ระหว่างการเพิ่มกำลังการผลิตในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในขณะนี้
แหล่งข่าวรายหนึ่งแสดงความเห็นว่า
ความเคลื่อนไหวนี้เกิดขึ้นมาระยะหนึ่งแล้ว
เนื่องจากบริษัทเหล่านี้ไม่สามารถตอบรับกับตลาดจีนได้อย่างที่เคยเป็น
แต่ย้ำว่าแม้จะมีการโยกย้ายพนักงาน แต่ก็ยังมีการดำเนินธุรกิจในจีนอยู่
ผู้บริหารบริษัทซัพพลายเออร์ระบบย่อยที่ทำงานภายใต้
Lam
Research และ KLA กล่าวว่าแนวโน้มดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อปลายปีที่แล้ว
โดยลูกค้าของบริษัทขอให้บริษัทเร่งสนับสนุนสำนักงานในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา
และสังเกตุเห็นถึงการเพิ่มบุคลากรในภูมิภาคอาเซียนอีกด้วย
โดยในเดือนตุลาคม
2022 รัฐบาลสหรัฐฯ ได้มาตรการควบคุมการส่งออก
จำกัดการเข้าถึงอุปกรณ์การผลิตขั้นสูงของจีนอย่างมากหากมีเทคโนโลยีของอเมริกาอยู่ด้วย
การควบคุมยังจำกัดความสามารถของชาวอเมริกันในการทำงานกับบริษัทเทคโนโลยีของจีนบางแห่ง
นอกจากนี้
ในเดือนมกราคม 2023 ที่ผ่านมา สหรัฐฯ
ยังบรรลุข้อตกลงจำกัดการส่งออกอุปกรณ์ไปยังจีนด้วยกับญี่ปุ่นและเนเธอร์แลนด์อีกด้วย
การควบคุมการส่งออกนี้การยับยั้งความมุ่งมั่นของจีนในด้านเทคโนโลยี
เนื่องจากอุปกรณ์ผลิตชิปมีส่วนสำคัญต่อผู้ผลิตชิปเป็นอย่างมาก แต่ในทางกลับกัน
การควบคุมการส่งออกได้ส่งผลกระทบต่อสหรัฐด้วย
โดยข้อมูลจากสมาคมอุตสาหกรรมเซมิคอนดัคเตอร์นานาชาติเผยว่า
จีนเป็นผู้ซื้อเครื่องจักรผลิตชิปเซมิคอนดักเตอร์รายใหญ่ที่สุดในปี 2021 และ 2022 คิดเป็นสัดส่วนรายได้มากถึง 30% ของผู้ผลิตเครื่องจักรผลิตชิปสัญชาติสหรัฐอีกด้วย ซึ่งในไตรมาสที่ผ่านมาต่างมีสัดส่วนลดลงทั้งสิ้น
โดยเมื่อวันที่
25 มกราคม 2023 Lam Research เผยว่าบริษัทมีแผนลดจำนวนแรงงานทั่วโลก
7% ซึ่งตำแหน่งงานส่วนใหญ่เป็นลูกจากชั่วคราวในไต้หวัน ซึ่ง Nikkei
รายงานว่าลูกจ้างได้รับจดหมายว่าจะไม่มีการต่อสัญญาจ้างหลังช่วงตรุษจีน
ส่วนแหล่งข่าวจากสำนักงานสิงคโปร์
บริษัท KLA
เผยว่า บริษัทมีแผนเพิ่มการจ้างงานในอาเซียน แต่คำถามคือ
จะเกิดอะไรขึ้นถ้าจีนไม่ใช่แรงผลักดันหลักของบริษัทแล้ว
ผู้บริหารระดับสูงบริษัทเครื่องจักรผลิตชิปญี่ปุ่นรายหนึ่ง
กล่าวว่า ความต้องการชิปที่ชะลอตัวเนื่องจากเศรษฐกิจโลกตกต่ำ
และการเติบโตของผู้เล่นจีนจะเพิ่มขึ้นในระยะยาวเมื่อตีนมีการผลักดันอุตสาหกรรมชิปของตัวเอง
ด้วยเหตุนี้
หลายบริษัทจึงเล็งเห็นว่าการโยกย้ายพนักงานจากจีนมายังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นเรื่องปกติ
เนื่องจากหลายบริษัทมีธุรกิใจอาเซียนอยู่แล้ว ซึ่งอุตสาหกรรมชิปสหรัฐเข้าสู่เอเชียครั้งแรกในช่วงทศวรรษ
1960 เนื่องจากมีค่าแรงต่ำกว่า โดยมีสิงคโปร์และมาเลเซียเป็นปลายทาง
ในขณะที่ทุกวันนี้ ผู้ผลิตชิปรายใหญ่อย่าง Intel, GlobalFoundries, และ United Microelectronics ต่างมีฐานการผลิตในอาเซียนทั้งสิ้น
Lucy
Chen รองประธาน Isaiah Research เผยว่า
จากการตรวจสอบพบว่าซัพลายเออร์อเมริกันมีกาเลิกจ้างพนักงานในจีนและโยกย้ายพนักงานเป็นระยะ
ๆ
โดยมีช่วงพีคในเดือนธันวาคมซึ่งการควบคุมการส่งออกของสหรัฐส่งผลกระทบต่อรายได้บริษัท
และแสดงความเห็นว่าผู้ผลิตเครื่องจักรและอุปกรณ์ผลิตชิปเซมิคอนดักเตอร์จากสหรัฐหลายรายมีธุรกิจในอาเซียนอยู่แล้ว
แต่ตอนนี้อุตสาหกรรมกำลังเข้าสู่ช่วงถดถอย
และคาดการณ์ว่าความก้าวหน้าในเทคโนโลยีชิปจีนจะชะลอตัวในช่วง 3 - 5 ปีข้างหน้าจากข้อตกลงจำกัดการส่งออกของสหรัฐ ญี่ปุ่น และเนเธอร์แลนด์
แต่จีนเองก็มีการลงทุนอุปกรณ์ผลิตชิป และจะสามารถหาทางออกได้ในระยะยาว
ที่มา
:
MReport
วันที่
1 มีนาคม 2566