AI
หรือปัญญาประดิษฐ์นั้นเข้ามามีส่วนอย่างมากในโลกสมัยใหม่
หากพิจารณาในเรื่องของเศรษฐกิจทั่วโลกจะพบว่า AI ได้เปลี่ยนแปลงกิจกรรม
วิธีคิด และการทำธุรกิจในวงกว้าง
ซึ่งอาจเป็นเรื่องดีและน่าตระหนกได้ในเวลาเดียวกัน โดย IMF ได้ออกมาชี้ให้เห็นว่าผลกระทบของ
AI นั้นจะส่งผลต่ออาชีพกว่า 40% ทั่วโลก
การใช้งาน AI จะต้องหาจุดสมดุลของนโยบายเพื่อให้สามารถใช้งานได้อย่างเต็มศักยภาพในขณะที่ต้องพิจารณาถึงประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นกับมนุษย์
เทคโนโลยีในปัจจุบันนั้นเติบโตและเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว
ทำให้ Productivity
ต่าง ๆ เองก็ถูกยกระดับขึ้นอย่างมาก
ทั้งยังเพิ่มอัตราการเติบโตและรายรับทั่วโลกอีกด้วย
แต่ในขณะเดียวกันก็เกิดการแทนที่งานและทำให้ปัญหาความไม่เท่าเทียมกันหยั่งรากลึกยิ่งขึ้น
ผลลัพธ์รวมในท้ายที่สุดแล้วอาจจะยากที่จะคาดการณ์ได้ชัดเจน เพราะ AI นั้นเข้ามามีส่วนในเศรษฐกิจทั้งหลายได้ในรูปแบบที่ซับซ้อนอย่างยิ่ง
ในการวิเคราะห์ครั้งใหม่ของ
IMF
ได้ทดสอบผลกระทบที่เกิดจาก AI ในตลาดจ้างงานทั่วโลก
หลายการศึกษาคาดการณ์ว่างานจำนวนไม่น้อยจะถูกแทนที่โดย AI แต่อย่างที่รู้กันว่าในหลายกรณี
AI ก็มาช่วยงานมนุษย์โดยพบว่า 40%
ของการจ้างงานทั่วโลกนั้นมีความเสี่ยงที่ต้องเผชิญหน้ากับผลกระทบจาก AI หากมองจากประวัติศาสตร์แล้วจะเห็นว่าระบบอัตโนมัติและเทคโนโลยีสารสนเทศนั้นส่งผลกระทบต่อกิจกรรมหรืองานประจำวันอย่างมาก
แต่สิ่งที่ทำให้ AI แตกต่างออกไป
เพราะส่งผลกระทบต่อแรงงานที่มีทักษะสูงได้ ผลกระทบที่เกิดขึ้น คือ
ในประเทศที่มีความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจต้องเผชิญหน้ากับความเสี่ยงจาก AI แต่ก็ยังมีโอกาสใหม่ ๆ ด้วยเช่นกัน
สำหรับประเทศที่มีความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจมากพบว่า
60% ของงานได้รับผลกระทบจาก AI พิจารณาคร่าว ๆ
งานมากกว่าครึ่งจะได้ประโยชน์จากการบูรณาการ AI เพิ่ม Productivity
แต่อีกครึ่งหนึ่งนั้น AI สามารถจัดการภาระงานต่าง
ๆ ที่มนุษย์ทำอยู่ในปัจจุบันได้เอง
อาจทำให้ความต้องการแรงงานลดลงนำไปสู่ราคาจ้างงานที่ต่ำลงและลดการจ้างงาน
ในกรณีเลวร้ายที่สุดหลายงานอาจหายไปจากตลาดได้
ในตลาดเกิดใหม่และประเทศรายได้ต่ำนั้นแตกต่างออกไป
ผลกระทบที่ต้องเผชิญหน้ากับ AI อยู่ที่ 40% และ 26% ตามลำดับ
การค้นพบนี้ได้รับการแนะนำว่าตลาดเกิดใหม่และประเทศกำลังพัฒนาต้องเจอการก่อกวนจาก AI
น้อยกว่า
ในเวลาเดียวกันประเทศเหล่านี้ไม่ได้มีโครงสร้างพื้นฐานหรือแรงงานทักษะที่จะใช้ประโยชน์จาก
AI ได้
สิ่งนี้เองทำให้เห็นว่าความไม่เท่าเทียมกันระหว่างชนชาติต่าง ๆ
เสี่ยงที่จะเลวร้ายยิ่งขึ้นตามเวลาที่เทคโนโลยีก้าวหน้า
นอกจากนี้
AI
ยังสร้างผลกระทบต่อรายได้และความมั่งคั่งในด้านความไม่เท่าเทียมกันภายในประเทศได้อีกด้วย
งานวิจัยแสดงให้เห็นว่า AI ช่วยให้แรงงานที่มีประสบการณ์น้อยเพิ่ม
Productivity ได้อย่างรวดเร็ว
แรงงานอายุน้อยอาจพบว่ามันเป็นเรื่องง่ายขึ้นที่จะคว้าโอกาสไว้
สำหรับแรงงานมือเก่าอาจรู้สึกว่าการปรับตัวตามเป็นเรื่องยาก
ผลกระทบสำหรับรายได้แรงงานส่วนใหญ่จะขึ้นอยู่กับว่า
AI
จะเข้ามาช่วยแรงงานที่มีรายได้สูง หาก AI สนับสนุนแรงงานรายได้สูงได้อย่างมีนัยสำคัญอาจนำไปสู่การเพิ่มขึ้นของรายได้แรงงานที่ไม่สมดุล
ยิ่งไปกว่านั้นสิ่งที่เกิดจาก Productivity ที่เพิ่มขึ้นจากการบูรณาการ
AI จะช่วยเพิ่มการคืนทุนซึ่งเหมาะกับผู้มีรายได้สูง
ต้องยอมรับว่า
AI
ถูกบูรณาการเข้าไปในธุรกิจรอบโลกด้วยความเร็วอันน่าตื่นตะลึง
ซึ่งต้องขีดเส้นใต้ไว้ว่าต้องให้คนวางนโยบายลงมือดำเนินการ ซึ่ง IMF เองได้พัฒนา AI Prepared Index ที่ช่วยวัดความพร้อมในพื้นที่ต่าง
ๆ เช่น โครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล ต้นทุนมนุษย์ และนโยบายตลาดแรงงาน, นวัตกรรมและการบูรณาการเศรษฐกิจ และข้อกำหนดและจริยธรรม
จากการประเมินความพร้อมใน 125 ประเทศแสดงให้เห็นว่า
ประเทศที่มั่งคั่งกว่ารวมถึงประเทศที่มีเศรษฐกิจเติบโตและเกิดใหม่มีแนวโน้มที่ดีขึ้นเมื่อมีการใช้
AI เมื่อเทียบกับประเทศรายได้ต่ำ
โดยสิงคโปร์และเดนมาร์คอยู่ในระดับดัชนีสูงสุดเมื่อพิจารณาจากผลลัพธ์อันแข็งแรงใน 4 พื้นที่ที่แบ่งกลุ่มไว้
ที่มา: MMthailand
วันที่ 18 มกราคม 2567