IFR
เผยแนวทางการลงทุนวิจัยและพัฒนาหุ่นยนต์ของ 6
ประเทศหลักในอุตสาหกรรมหุ่นยนต์ ได้แก่ จีน, ญี่ปุ่น,
สหรัฐอเมริกา, เกาหลีใต้, เยอรมนี, และอียู
เมื่อวันที่
12 มกราคม 2023 International Federation of Robotics (IFR) เผยรายงาน “World Robotics R&D Programs” ฉบับที่
3 หลังจากที่เว้นระยะจากฉบับที่แล้วไปนานเกือบสองปี
โดยรวบรวมแนวทางสำคัญในการลงทุนวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมหุ่นยนต์ของประเทศที่มีความก้าวหน้าด้านหุ่นยนต์
ดังนี้
ปัจจุบันจีนกำลังเดินตาม
“แผน 5 ปีเพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมหุ่นยนต์ ฉบับที่ 14”
จัดทำโดยกระทรวงอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศจีน
ซึ่งมุ่งไปที่การส่งเสริมนวัตกรรมเพื่อผลักดันจีนขึ้นเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีหุ่นยนต์และความก้าวหน้าในอุตสาหกรรม
ยกหุ่นยนต์เป็น 1 ใน 8 อุตสาหกรรมหลัก และเปิดตัวโครงการ Intelligent
Robots ภายใต้แผนวิจัยและพัฒนาแห่งชาติเมื่อวันที่ 23 เมษายน 2022
"จีน"
มีอัตราส่วนหุ่นยนต์อุตสาหกรรม 322 ตัว ต่อแรงงาน 10,000 คน และอยู่ในอันดับ 5 ของโลก
ตามแผน
The
New Robot Strategy ของญี่ปุ่นได้ตั้งเป้าหมายขึ้นเป็นฮับนวัตกรรมหุ่นยนต์อันดับหนึ่งของโลก
ซึ่งในปี 2022 ที่ผ่านมา
รัฐบาลญี่ปุ่นอัดฉีดเม็ดเงินเพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมหุ่นยนต์กว่า 930.5
ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยแบ่งเป็นหุ่นยนต์เพื่ออุตสาหกรรมการผลิต 77.8
ล้านดอลลาร์สหรัฐ, หุ่นยนต์พยาบาลและการแพทย์ 55
ล้านดอลลาร์สหรัฐ, หุ่นยนต์ด้านโครงสร้างพื้นฐาน 643.2
ล้านดอลลาร์สหรัฐ, และหุ่นยนต์เพื่อการเกษตร 66.2
ล้านดอลลาร์สหรัฐ
นอกจากนี้
ญี่ปุ่นยังมีการพัฒนาเทคโนโลยีที่จะเป็นแกนสำคัญของปัญญาประดิษฐ์ (AI)
และหุ่นยนต์ในอนาคตอย่างระบบขับขี่อัตโนมัติและการคมนาคมทางอากาศ
และยังมีงบประมาณอีก 440 ล้านเหรียญให้กับโครงการ “Moonshot Research &
Development Program” ในช่วงปี 2020 - 2025 อีกด้วย
"ญี่ปุ่น"
มีอัตราส่วนหุ่นยนต์อุตสาหกรรม 399 ตัว ต่อแรงงาน 10,000 คน และอยู่ในอันดับ 3 ของโลก
โครงการ
National
Robotics Initiative (NRI) เพื่อส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาหุ่นยนต์สำหรับวงการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ได้ถูกปรับปรุงเป็นฉบับ 3.0 ในชื่อ “NRI-3.0 program”
ซึ่งต่อยอดจากโครงการเดิมด้วยการร่วมมือกับภาครัฐ เอกชน สถานศึกษา
และองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร มุ่งศึกษาความเชื่อมโยงระหว่างหุ่นยนต์ วิทยาศาสตร์
เทคโนโลยี และการนำมาใช้งานจริง โดยมีการลงทุนรวม 14 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2021
โดยไฮไลต์ของการลงทุนอยู่ที่โครงการ
Moon
to Mars ซึ่งมุ่งวิจัยเทคโนโลยีเพื่อให้หุ่นยนต์มีประสิทธิภาพและสามารถสนับสนุนการสำรวจอวกาศของมนุษย์ได้ดียิ่งขึ้น
ตั้งเป้าส่งนักบินอวกาศขึ้นไปยังดวงจันทร์ภายในปี 2024
เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมให้กับการเดินทางสู่ดางอังคารในอนาคต
และมีแผนเพิ่มงบประมาณโครงการ Artemis ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ Moon
to Mars ขึ้นเป็น 35 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
"สหรัฐอเมริกา"
มีอัตราส่วนหุ่นยนต์อุตสาหกรรม 274 ตัว
ต่อแรงงาน 10,000 คน และอยู่ในอันดับ 9 ของโลก
เกาหลีใต้มีแผน
3rd
Basic Plan on Intelligent Robots เพื่อผลักดันให้หุ่นยนต์เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมหลักแห่งยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม
4.0 กำหนดเป้าหมายในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนและเทคโนโลยีหุ่นยนต์ควบคู่กัน
โดยสถาบันวิจัยกฎหมายเกาหลี (KLRI) ให้คำนิยาม “Intelligent
Robots” ว่า เป็นเครื่องจักรกลที่รับรู้สภาพแวดล้อมภายนอก
และแยกแยะสถานการณ์ความเคลื่อนไหวได้ด้วยตัวเอง
ในปี
2022 เกาหลีใต้ได้ลงทุนในโครงการ Intelligent Robots เป็นเม็ดเงินรวม 172.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และอีก 7.2
ล้านดอลลาร์สหรัฐในโครงการ Full-Scale Test Platform Project for
Special-Purpose Manned or Unmanned Aerial Vehicles ในช่วงปี 2022
- 2024 เพื่อพัฒนาอากาศยานไร้คนขับ (UAV) อีกด้วย
"เกาหลีใต้"
มีอัตราส่วนหุ่นยนต์อุตสาหกรรม 1,000 ตัว ต่อแรงงาน 10,000 คน และอยู่ในอันดับ 1
ของโลก
รัฐบาลเยอรมันยังคงยึดแผน
High-Tech
Strategy ฉบับที่ 4 โดยมีแผนลงทุน R&D ด้านหุ่นยนต์ปีละ
69 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งจะลงทุนต่อเนื่องจนถึงปี 2026
นอกจากนี้
เยอรมนียังมีโครงการ “Shape Technology for the People” ซึ่งตั้งเป้านำเทคโนโลยีมาใช้ในการพัฒนาโลกและสังคม ซึ่งมีหัวข้อวิจัย คือ
Digital Assistant System เช่น เอ็กโซสเกเลตัน (Exoskeletons)
สำหรับสนับสนุนผู้ใช้แรงงาน, โซลูชันสำหรับองค์กรเพื่อการทำงานที่ยืดหยุ่นไปจนถึงการทำงานแบบ
Mobile Work ซึ่งไม่จำกัดสถานที่การทำงานไว้เพียงแค่สำนักงาน,
และอื่น ๆ อีก
"เยอรมนี"
มีอัตราส่วนหุ่นยนต์อุตสาหกรรม 397 ตัว ต่อแรงงาน 10,000 คน และอยู่ในอันดับ 4
ของโลก
อียูกำลังเดินหน้าตามแผน
“Horizon
Europe” โดยมีเป้าหมายหลักคือการเสริมความแข็งแรงให้กับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เพื่อส่งเสริมศักยภาพในการแข่งขัน ขีดความสามารถในการพัฒนานวัตกรรม และสร้างอาชีพ
ซึ่งในช่วงปี 2021 - 2022 อียูได้ลงทุนวิจัยและพัฒนาหุ่นยนต์ไปแล้วกว่า 198.5
ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งอียูคาดหวังว่าการลงทุนในแผนงานนี้จะทำให้ได้หุ่นยนต์ที่สามารถทำงานซับซ้อนได้มากขึ้น
มีประสิทธิภาพสูงขึ้น และยกระดับการทำงานร่วมกันระหว่างมนุษย์และหุ่นยนต์
เพื่อให้หุ่นยนต์สามารถแก้ปัญหาในอุตสาหกรรมสำคัญต่าง ๆ ของอียูได้
ที่มา : M Report
วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2566