เมื่อจำนวนสินค้าคงคลังมากเกินความต้องการ
ผู้ค้าปลีกก็มักประสบปัญหาในด้านการจัดการขยะ โดยเฉพาะอาหารสด
เป็นเหตุให้ต้องนำมาลดราคาหรือปล่อยทิ้งให้เน่าเสียในที่สุด
โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ ทำให้ระบบอัตโนมัติที่ขับเคลื่อนด้วย AI
ช่วยลดปัญหาขยะอาหารในไทย
ขยะอาหารเป็นหนึ่งในความท้าทายที่ประเทศไทยกำลังเผชิญ
ข้อมูลจากสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมระบุว่า ขยะในไทยกว่า
60% เป็นขยะอาหาร โดยเมื่อปี 2565 มีขยะอาหารในไทยราว 17 ล้านตัน จากการเน่าเสียและร่วงหล่นในซัพพลายเชน รวมถึงขยะจากผู้ค้าปลีก
ร้านอาหาร และผู้บริโภค
ตัวเลขดังกล่าวเป็นสัญญาณเตือนให้เราต้องหันมาสนใจปัญหาขยะอาหาร
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อการรีไซเคิลสามารถทำได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น
AI
ช่วยลดปัญหาขยะอาหารในไทย
โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ
(UNEP)
เปิดเผยว่า
การผลิตและบริโภคอาหารเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดที่ทำให้เกิดการสูญเสียของธรรมชาติ
ระบบจัดการอาหารที่แยกส่วนกันและยังต้องพึ่งพามนุษย์เป็นหลักก่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างไม่มีประสิทธิภาพ
ไม่เพียงแต่ขยะอาหารเท่านั้น
แต่ยังรวมถึงพลังงานและน้ำที่ใช้ในขั้นตอนการผลิตอาหาร การเก็บเกี่ยว การขนส่ง
และการบรรจุ
กรมควบคุมมลพิษได้วางแผนงานที่จะลดอัตราส่วนของขยะอาหารในขยะมูลฝอยชุมชนจาก 39%
ให้เหลือต่ำกว่า 28% ภายในปี 2570 โดยมุ่งเป้าไปที่ผู้ค้าปลีกและผู้บริโภคเป็นหลัก
แก้ปัญหาขยะด้วยระบบ
AI
จากปัญหาดังกล่าว
อนนิ โรติโอะ ผู้อำนวยการฝ่ายขายของรีเล็กซ์ โซลูชันส์ กล่าวว่า
"ขยะอาหารเป็นปัญหาสำคัญที่จะสามารถแก้ไขได้ก็ต่อเมื่อได้รับความร่วมมือจากผู้คนทุกฝ่าย
นับตั้งแต่การสั่งอาหารมาบริโภคในปริมาณพอดีเพื่อลดปริมาณขยะ
ไปจนกระทั่งถึงผู้ค้าปลีกยังสามารถใช้ระบบอัตโนมัติด้านค้าปลีกเพื่อช่วยลดปัญหาขยะอาหารในไทยได้อย่างเห็นผลชัดเจน
อีกทั้งระบบอัตโนมัติยังทำให้กระบวนการสินค้าคงคลังทุกส่วนลื่นไหล
และลดภาระการจัดการโดยมนุษย์
ทำให้ได้ระบบค้าปลีกที่ยั่งยืนและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
นอกจากนี้ระบบอัตโนมัติยังช่วยลดปริมาณอาหารส่วนเกินได้ก่อนที่จะกลายเป็นของเสีย
โดยการลดอาหารล้นสต็อกและคาดการณ์ความต้องการได้อย่างแม่นยำ"
ระบบบริหารจัดการสินค้าคงคลังอัจฉริยะ
· คุณสมบัติการคาดการณ์ความต้องการ
ช่วยให้ผู้ค้าปลีกประเมินความต้องการของลูกค้าและปรับระดับสินค้าคงคลังได้เหมาะสมและสอดคล้องตามความต้องการของผู้บริโภค
เช่น คาดการณ์ความผันผวนของความต้องการ ลดปัญหาสินค้าล้นสต็อก
ลดจำนวนอาหารเหลือทิ้งและเน่าเสีย
· คุณสมบัติการติดตามวันหมดอายุโดยอัตโนมัติ
ช่วยปรับปรุงการบริหารจัดการสินค้าคงคลังโดยเฉพาะในเรื่องการหมุนเวียนสต็อกสินค้า
ตลอดจนการติดตามและจัดการอายุการเก็บรักษาสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เพื่อลดโอกาสการเกิดภาวะสินค้าล้นสต็อก ทั้งยังป้องกันสินค้าหมดอายุไม่ให้เน่าเสียอีกด้วย
นอกจากนี้ยังช่วยลดกระบวนการและขั้นตอนต่างๆ ที่ต้องจัดการด้วยพนักงาน
· ระบบบริหารจัดการสินค้าคงคลังอัจฉริยะ
มาพร้อมระบบแจ้งเตือนอัตโนมัติเมื่อสินค้าคงคลังอยู่ในระดับต่ำเกิดการล่าช้าในการจัดส่ง
หรือเกิดภาวะสินค้าล้นสต็อก นอกจากนี้
ยังคอยติดตามและวิเคราะห์ข้อมูลสินค้าคงคลังเพื่อค้นหารายการสินค้าที่จำหน่ายยากหรือเก่าเก็บ
โดยทั้งหมดทำได้ผ่านซอฟต์แวร์ระบบติดตามอัตโนมัติที่ช่วยคงสถานะสินค้าคงคลังแบบ JIT
(Just In Time / แบบทันเวลาพอดี) ได้ตามที่ต้องการ
ที่สำคัญกลยุทธ์การจัดหาสินค้าที่มีข้อมูลเข้ามาช่วยในการตัดสินใจจะช่วยลดความเสี่ยงสินค้าล้นสต็อก
นำไปสู่การลดปัญหาสินค้าเน่าเสียและหมดอายุได้ในที่สุด
เทคโนโลยีการวางแผนซัพพลายเชนขั้นสูง
เทคโนโลยีการวางแผนซัพพลายเชนขั้นสูงสามารถช่วยให้ผู้ค้าปลีกลดขยะอาหาร
เพิ่มความแม่นยำในการคาดการณ์ ปรับปรุงระบบสั่งซื้อของร้าน
ติดตามสถานะสินค้าหมดอายุ โดยช่วยลดขยะอาหารได้10-40% โดยที่ยังคงรักษาผลกำไรและจำนวนสินค้าบนชั้นวางได้ในระดับเดิม
รายงานล่าสุดจากรีเล็กซ์ โซลูชันส์ ระบุว่า
เมื่อปีที่ผ่านมา
การทำงานที่ขับเคลื่อนด้วย AI ของบริษัทช่วยให้ลูกค้ากลุ่มค้าปลีกอาหารของรีเล็กซ์ทั่วโลกลดขยะอาหารได้กว่า
280 ล้านกิโลกรัม ในฝั่งซัพพลายเชน หรือคิดเป็น CO2 มากกว่า 950,000 เมตริกตัน
อันเป็นผลจากการคาดการณ์ที่แม่นยำและการปรับปรุงสินค้าคงคลังให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ปรับเปลี่ยนงานให้เป็นหน้าที่ของระบบอัตโนมัติ
"การใช้โซลูชันระบบอัตโนมัติด้านค้าปลีกส่งผลดีหลายด้านต่อสิ่งแวดล้อม
นอกจากการลดขยะอาหารแล้ว ยังช่วยลดการใช้พลังงานและปรับปรุงเส้นทางการขนส่ง
ซึ่งสามารถปล่อยมลภาวะลดลง
อีกทั้งผู้บริโภคชาวไทยเริ่มหันมาใส่ใจและเห็นความสำคัญด้านสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนมากขึ้น
ทิศทางดังกล่าวทำให้ผู้บริโภคสายกรีนในตลาดมีจำนวนเพิ่มขึ้น
ดังนั้นผู้ค้าปลีกก็ต้องปรับเปลี่ยนทั้งผลิตภัณฑ์และแนวทางการปฏิบัติให้สอดรับกับความต้องการดังกล่าวตามแนวทางที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและใส่ใจต่อความยั่งยืน
ธุรกิจที่ขาดระบบอัตโนมัติ
อาจส่งผลต่อการทำงานที่ขาดประสิทธิภาพและเผชิญกับความเสี่ยงที่จะต้องสูญเสียรายได้อันเนื่องมาจากการขาดข้อมูลที่สำคัญในการตัดสินใจแบบเรียลไทม์
ที่สำคัญการปรับเปลี่ยนงานบางส่วนให้เป็นหน้าที่ของระบบอัตโนมัติ
ช่วยให้พนักงานมีเวลาจัดการกับงานที่ให้มูลค่ามากกว่า และนำไปสู่การลดต้นทุนโดยรวมได้ในที่สุดด้วย"
ออนิกล่าว
ที่มา : Springnews
วันที่ 27 มีนาคม 2567