‘แอดไวซ์’
เดินเกม ปั้น‘แบรนด์’ รับเศรษฐกิจฟื้น มอง 'ค้าปลีกไอทียังมีดีมานด์'
ชงแนวคิด เมื่อแบรนด์ปรับแนวคิดเพื่อเข้าให้ถึงลูกค้า จนกลายมาเป็น 'กลยุทธ์' ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภค
เปิดกลยุทธ์ปั้น
แบรนด์ ฉบับ ‘แอดไวซ์’ รับเศรษฐกิจฟื้น ขณะที่มอง 'ค้าปลีกไอที'
ยังมีดีมานด์ ชงแนวคิด เมื่อแบรนด์ปรับแนวคิดเพื่อเข้าให้ถึง ลูกค้า
จนกลายมาเป็น 'กลยุทธ์' ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภค
เรามักเห็นหรือได้ยินการอธิบายว่า
ธุรกิจแต่ละองค์กรเป็นแบบไหน กลุ่มเป้าหมายเป็นใคร ทั้งที่เป็นรูปแบบบีทูซี หรือ
บีทูซี รวมถึงการกำหนดกลยุทธ์ทางการตลาดว่า บีทูบี หรือบีทูซี
ต้องใช้กลยุทธ์การตลาดอย่างไร
วิเคราะห์อย่างลึกซึ้งแล้ว
การสร้างแบรนด์ ที่มีประสิทธิภาพ ผู้คนเป็นศูนย์กลางการขับเคลื่อน
ด้วยการศึกษาผ่านข้อมูลเชิงลึก และการเอาใจใส่ของมนุษย์
เราขับเคลื่อนการเติบโตของธุรกิจด้วย นวัตกรรม
สินค้าหรือบริการที่มีความหมายและสร้างประสบการณ์ร่วมกับผู้บริโภค
ไม่ว่าพวกเขาจะเป็น บี หรือ ซี เพราะพวกเขาเป็นมนุษย์เป็นบุคคล
แบรนด์ปรับแนวคิดเข้าถึงลูกค้า
‘จักรกฤช
วัชระศักดิ์ศิลป์’ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายงานผลิตภัณฑ์ การขายและการตลาด
บริษัท แอดไวซ์ ไอที อินฟินิท จำกัด (มหาชน) กล่าวกับ “กรุงเทพธุรกิจ” ในประเด็น
เมื่อแบรนด์ปรับแนวคิดเพื่อเข้าให้ถึงลูกค้า จนกลายมาเป็น 'กลยุทธ์' ที่มุ่งไปที่ความต้องการของผู้บริโภคว่า
ในธุรกิจค้าปลีกที่มีผู้บริโภครายย่อยเป็นเป้าหมายหลัก นักการตลาดทั้งหลายรู้ดีว่า
หลัก 4P ที่ผู้บริโภคใช้ในการตัดสินใจ ซึ่งผู้บริโภคต่างกรรม
ต่างวาระใช้ปัจจัยที่แตกต่างกันเมื่อต้องตัดสินใจซื้อหรือใช้บริการใดๆ
เช่น
ซื้อเพราะโปรโมชั่นโดนใจ หรือซื้อสินค้าที่ตรงกับความต้องการ
โดยที่ราคาไม่มีผลกับการตัดสินใจ ประเด็นที่สำคัญมากเวลานี้ คือ
ช่องทางการซื้อที่สินค้าหลายประเภทซื้อออนไลน์ได้
แต่ก็มีผู้ซื้อที่ต้องการประสบการณ์ก่อนการตัดสินใจ
ไม่ว่าจะเป็นการเห็นหรือได้สัมผัส ทดสอบสินค้าจริง เพื่อให้มั่นใจ
สำนักงานพัฒนาธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์
หรือ เอ็ตด้า เผยว่า ความต้องการซื้อสินค้า
และบริการผ่านทางออนไลน์จะกลายเป็นช่องทางการซื้อของผู้บริโภค
ที่มีความสำคัญมากขึ้น
ในไทย
พบว่า มีผู้บริโภค 43% วางแผนใช้จ่ายออนไลน์
แทนใช้ช่องทางการค้าปลีกแบบเดิมเพิ่มขึ้นในช่วง 12 เดือนข้างหน้า เพื่อเลี่ยงข้อจำกัดหรือปัจจัยต่างๆ
ระหว่างซื้อสินค้า เช่น จราจรที่ติดขัด สภาพอากาศที่ไม่เอื้อกับการจับจ่าย
และการบริการหน้าร้านค้าที่แออัด
ซึ่งแอดไวซ์ให้ความสำคัญและพัฒนากลยุทธ์เพื่อตอบความท้าทายนี้มาโดยตลอด
ความท้าทายธุรกิจยุคใหม่
“ปัจจุบันเทคโนโลยีดิจิทัล
สร้างความท้าทายให้แบรนด์ในการสร้างความพึงพอใจ
หรือการยอมรับและซื่อสัตย์กับแบรนด์อย่างมาก
เพราะผู้คนได้รับข้อมูลข่าวสารอย่างรวดเร็ว
และได้กลายเป็นการสื่อสารอีกรูปแบบหนึ่งของแบรนด์ต่อกลุ่มเป้าหมายคือการรีวิวสินค้าหรือบริการโดยอินฟลูเอนเซอร์”
จักรกฤช
ยกรายงาน State of Influence in Asia 22/23
เผยว่า เฟซบุ๊ค ยังคงเป็นเจ้าตลาดในการทำการตลาดแบบ อินฟลูเอนเซอร์
มาร์เก็ตติ้งมากที่สุด แต่ผู้ชมมีส่วนร่วมในเนื้อหาต่ำเมื่อเทียบกับแพลตฟอร์มอื่น
ๆ ขณะที่ TikTok กำลังได้รับความนิยมมากขึ้นอย่างรวดเร็ว
ทั้งการใช้งาน และการมีส่วนร่วมในเนื้อหาผู้ชม
ทำให้วันนี้เกิดเทรนด์ใหม่ที่น่าสนใจคือ de-influencing ที่อินฟลูเอนเซอร์
นำเสนอข้อมูลเพื่อการตัดสินใจซื้อ
โดยเน้นสร้างการมีส่วนร่วมกับผู้ติดตามอย่างจริงใจ
สอดคล้องผลสำรวจของ
Find
Your Influence ที่พบว่า 70% ของผู้บริโภคกลุ่มวัยรุ่นให้ความเชื่อถืออินฟลูเอนเซอร์มากกว่าศิลปินที่มีชื่อเสียง
เพราะรู้สึกไว้วางใจอินฟลูเอนเซอร์ที่พวกเขาชื่นชอบและติดตาม ทำให้ธุรกิจต่างๆ
ได้รับผลประโยชน์มากที่สุดจากการใช้เสียงพวกเขา
เพื่อส่งสารระหว่างธุรกิจสู่กลุ่มเป้าหมาย
“สอดคล้องการสื่อสารของแอดไวซ์
ที่ต้องการให้เห็นถึงตัวตนของแอดไวซ์ที่มีความใส่ใจ
รับฟังปัญหาและข้อสงสัยของลูกค้าเพื่อปรับปรุงพัฒนาการบริการให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
รวมถึงให้คำแนะนำที่ดีที่สุดสำหรับลูกค้า
จะเห็นได้จากวิดีโอโฆษณาเราได้อะไรจากการฟัง เงินก็ซื้อแท็บเล็ตร้านนี้ไม่ได้
หรือขอแนะนำกล้องวงจรปิดครบชุดเพียง 60
บาทที่แสดงให้เห็นว่านอกจากจะพูดถึงแบรนด์ตัวเองแล้วยังให้ความสำคัญกับความเข้าใจและความต้องการผู้บริโภคอีกด้วย”
ด้านการค้าปลีกสมัยใหม่
ที่ผู้ประกอบการร้านค้าปลีกปรับตัวตามภาวะเศรษฐกิจ ซึ่งหน่วยงานวิจัยธนาคารกรุงศรี
พบว่า ทิศทางธุรกิจร้านค้าปลีก
มีแนวโน้มขยายสาขาหน้าร้านควบคู่ไปกับการพัฒนาช่องทางการตลาดออนไลน์
รวมถึงการพัฒนาโมเดลธุรกิจใหม่ๆ และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอย่างแพร่หลายมากขึ้น
เพื่อสร้างความแตกต่าง และเพิ่มขีดความสามารถแข่งขันธุรกิจ
“ปีนี้แอดไวซ์ตั้งเป้าขยายสาขาให้ครอบคลุมความต้องการผู้บริโภคทั่วประเทศ
ด้วยการขยายสาขาหน้าร้าน
พร้อมรองรับในด้านบริการที่ครบวงจรตั้งแต่ให้คำแนะนำการใช้งาน
หรือเทคโนโลยีที่เหมาะสม
เพื่อเป็นทางเลือกให้ผู้บริโภคไปจนถึงบริการหลังการขายต่างๆ”
เปิดยุทธศาสตร์โตฉบับแอดไวซ์
จักรกฤช
ยังได้กล่าวถึงภาพรวมอุตสาหกรรมค้าปลีกไอทีขณะนี้ว่า
สถานการณ์แพร่ระบาดที่ผ่านมาทำให้อุตสาหกรรมค้าปลีกไอทีโตขึ้นอย่างมาก
ส่วนปีนี้ด้วยดีมานด์ความต้องการของผู้บริโภคที่ชะลอตัว
ทำให้ตัวเลขการเติบโตไม่แตกต่างจากช่วงก่อนสถานการณ์โควิด
ขณะที่เศรษฐกิจภาพรวมฟื้นตัวขึ้นจากสถานการณ์ที่เริ่มกลับมาเป็นปกติจากโควิด
แอดไวซ์ ยังเดินหน้ารุกตลาดคอมเมอร์เชียลมากขึ้น ทั้งในกลุ่มธุรกิจและภาครัฐ
ซึ่งแอดไวซ์ เติบโต 100% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมาจากการใช้กลยุทธ์เชิงรุกทุกช่องทาง
เพื่อสร้างการรับรู้ให้กลุ่มธุรกิจและภาครัฐ ขยายทีมขาย
ให้คำปรึกษาผ่านองค์ความรู้ ความชำนาญในผลิตภัณฑ์ไอที พร้อมบริการหลังการขาย
โดยเฉพาะ Onsite Service ไปจนถึงเสนอเครื่องให้ใช้ระหว่างซ่อม
"ในด้านผลิตภัณฑ์แอดไวซ์
ได้ขยายแบรนด์สินค้าในกลุ่มผลิตภัณฑ์ต่างๆ มากขึ้น
เพื่อเป็นทางเลือกให้ลูกค้ากลุ่มตลาดใหม่ โดยขณะนี้ที่เราให้ความสำคัญเป็นพิเศษ
คือ ผลิตภัณฑ์ Apple ที่เรามองเห็นแล้วว่า
เป็นตลาดที่น่าสนใจและต่อยอดขยายกลุ่มเป้าหมายใหม่ได้"
ขณะเดียวกัน
กลุ่มสมาร์ทโฟน ยังเป็นกลุ่มที่แอดไวซ์ ให้ความสำคัญ
ปัจจุบันแอดไวซ์เป็นพันธมิตรกับเอไอเอส
อำนวยความสะดวกลูกค้าในตลาดต่างจังหวัดที่ยังคงมีดีมานด์สูง
เนื่องจากสมาร์ทโฟนเป็นปัจจัยที่ 6 ในการดำเนินชีวิตที่ต้องติดต่อสื่อสาร ทำงาน
ทำธุรกรรม ที่เรามีบริการพร้อมเปิดเบอร์ จ่ายเงิน เติมเงินได้ในร้านแอดไวซ์
“ในส่วนช่องทางการขาย
ฝั่งรีเทลช็อป ยังเป็นจุดแข็งของแอดไวซ์ มีหน้าร้านออฟไลน์ 337
สาขาครอบคลุมทั่วประเทศ และยังมีแผนเดินหน้าปรับขยายขนาดร้านสาขาในจังหวัดต่างๆ
ให้รองรับลูกค้าได้มากขึ้น ขณะที่ มีช่องทางออนไลน์ที่ครอบคลุมไม่ว่าจะเป็นเว็บไซต์
Advice.co.th,
Shopee, Lazada รวมถึงโซเชียลคอมเมิร์ซต่างๆ"
ดึง
เทค ช่วยวิเคราะห์
ในช่วงที่ผ่านมา
แอดไวซ์ ยังให้ความสำคัญในการใช้เครื่องมือทางการตลาด (Martech)
วิเคราะห์ Insight ผู้บริโภค
ที่มีส่วนช่วยให้การทำการตลาดมีความหลากหลาย และแม่นยำ ตอบโจทย์พฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาด้วย
Insight ที่แท้จริง
"เราใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยจัดสรรข้อมูลบิ๊กดาต้าให้สามารถหยิบมาใช้
หรือวิเคราะห์กลุ่มลูกค้าได้สะดวก และเรียลไทม์มากที่สุด
เพื่อเป็นประโยชน์ในการค้นหากลุ่มเป้าหมายใหม่ และรีมาร์เก็ตติ้งกลุ่มลูกค้าเดิม"
จักรกฤช ทิ้งท้าย
ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ
วันที่ 6 มิถุนายน 2566