ไมโครซอฟท์
ประสบกับความท้าทายด้านสิ่งแวดล้อมอีกขั้น หลังปล่อยคาร์บอนเพิ่มขึ้น 30%
ทั้งที่บริษัทตั้งเป้าหมายไว้ว่าจะมุ่งสู่ Net Zero ภายในปี 2573 ด้านซีอีโอเชื่อ
เอไอสามารถช่วยเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้
บูมธุรกิจ
แต่ซ่อนวิกฤติสิ่งแวดล้อม? ดูเหมือนว่ากลยุทธ์ผลักดันอุตสาหกรรมปัญญาประดิษฐ์
(AI) ของไมโครซอฟท์กำลังสวนทางกับคำประกาศของบริษัทที่กล่าวว่าจะลดการปล่อยคาร์บอน
มุ่งสู่ Net Zero ภายในปี 2573
รายงานความยั่งยืนประจำปีของไมโครซอฟท์
(Environmental
Sustainability Report 2024) ระบุว่า
การปล่อยคาร์บอนทั้งหมดของบริษัทเพิ่มขึ้นเกือบ 30% นับตั้งแต่ปี 2563
โดยมีสาเหตุหลักมาจากการก่อสร้างบรรดาศูนย์ข้อมูล (Data Center) รวมทั้งวัสดุก่อสร้าง และส่วนประกอบฮาร์ดแวร์เพิ่มขึ้น
เช่น
เซมิคอนดักเตอร์ เซิร์ฟเวอร์
จึงทำให้ซอฟต์แวร์ยักษ์ใหญ่เจ้านี้ถูกตั้งคำถามอีกครั้งว่า
เป้าหมายคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์จริงแท้แค่ไหน? และบริษัทจะทำอย่างไรต่อไป
แบรดฟอร์ด
สมิธ ประธานไมโครซอฟท์ ยังคงมองโลกในแง่บวก เขากล่าวว่า
เอไอจะสร้างประโยชน์ให้แก่โลกมากมาย
โดยเอไอสามารถแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และปัญหาสิ่งแวดล้อมอื่นๆ ได้
ด้านนักวิจารณ์โต้แย้งว่า
ไมโครซอฟท์ยังไม่ชัดเจนเรื่องเอไอ ความพร้อมต่างๆ
มีประสิทธิภาพมากเพียงใดที่จะแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม
เพราะยังคงอยู่ในขั้นตอนของการพัฒนา
ซึ่งขณะที่กำลังพัฒนาไมโครซอฟท์ก็ปล่อยมลพิษเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โลกก็ร้อนขึ้นเรื่อยๆ
สิ่งสำคัญคือ
Data
Center ที่ใช้ฝึกเอไอยังมีอัตราการกินพลังงานที่สูงกว่า Data
Center แบบปกติที่ก็ใช้ไฟฟ้ามหาศาลสำหรับรันเซิร์ฟเวอร์
และให้พลังงานกับระบบหล่อเย็นเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว นอกจากนี้
การขยายตัวของธุรกิจคลาวด์ที่เติบโตอย่างรวดเร็วของบริษัท
ยิ่งทำให้ความต้องการใช้พลังงานในศูนย์ข้อมูลเพิ่มขึ้น
“เราต้องแน่ใจว่า
เอไอจะไม่สร้างปัญหาสิ่งแวดล้อมใหม่ๆ แทนที่จะแก้ปัญหาที่มีอยู่
บริษัทต้องวางแผนเพื่อจัดการกับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เพิ่มขึ้นของตน
การพึ่งพาประโยชน์ของเอไอแค่เพียงอย่างเดียวนั้นอาจไม่ทันเวลา”
นักวิจารณ์คนหนึ่งกล่าว
สำนักข่าวบลูมเบิร์ก
รายงานว่า ไมโครซอฟท์ต้องการใช้พลังงานหมุนเวียนราคาถูกลง
เพราะการใช้พลังงานหรือการประมวลผลเท่าเดิม แต่สามารถทำงานได้มากขึ้น
จะช่วยลดความจำเป็นในการสร้าง Data Center
ขณะเดียวกันปริมาณการใช้ไฟฟ้าที่มหาศาลทำให้บริษัทจำเป็นต้องอาศัยพลังงานจากแหล่งอื่นด้วย
โดยตอนนี้โครงข่ายไฟฟ้ายังคงขาดแคลน ดังนั้น
ไมโครซอฟท์จึงมุ่งผลักดันให้รัฐบาลเร่งสร้างเสาส่งไฟฟ้าเพื่อให้สามารถเข้าถึงพลังงานสะอาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ไมโครซอฟท์ยังต้องการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการเดินทางเพื่อการทำธุรกิจคือ
การใช้เชื้อเพลิงการบินที่ยั่งยืน (Sustainable Aviation
Fuel - SAF) ไมโครซอฟท์เป็นหนึ่งในบริษัทแรกๆ ที่เริ่มใช้ SAF
บริษัทได้ลงทุนในโครงการ SAF หลายโครงการ
และได้สนับสนุนการพัฒนาและการผลิต SAF
โดยในปี
2564 ไมโครซอฟท์ชดเชยการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากการเดินทางเพื่อธุรกิจ
100,000 ตัน และปี 2565
ไมโครซอฟท์ตั้งเป้าหมายที่จะชดเชยการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากการเดินทางเพื่อธุรกิจ
200,000 ตัน
ทั้งนี้
รายงานยั่งยืนประจำปีของไมโครซอฟท์ 2567 ได้ออกข้อกำหนดใหม่สำหรับการปฏิบัติการ
โดยกำหนดให้ซัพพลายเออร์รายใหญ่ที่ได้รับการคัดเลือกหลายรายจะต้องใช้เฉพาะพลังงานไฟฟ้าที่ปราศจากคาร์บอนภายในปี
2573 เพื่อช่วยลดปริมาณการปล่อยคาร์บอนทางอ้อม
ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ
วันที่ 24 พฤษภาคม 2567