บริษัทวิจัยไอดีซี
รายงานว่า Generative AI ไม่เพียงช่วยจัดการให้ระบบงานดำเนินไปอย่างอัตโนมัติ
แต่ยังเพิ่มความเป็นอัจฉริยะให้กับภาคธุรกิจ
รวมถึงอุตสาหกรรมอีคอมเมิร์ซ
ตั้งแต่การนำเสนอสินค้าที่มีความเฉพาะกับแต่ละบุคคล
ไปจนถึงการจัดการสินค้าในคลังอย่างชาญฉลาด
เพื่อเป็นปัจจัยสำคัญในการปลดล็อคศักยภาพการเติบโตอย่างก้าวกระโดด
ข้อมูลระบุด้วยว่า
Generative
AI มีส่วนสำคัญในการเสริมข้อได้เปรียบด้านการวิเคราะห์พฤติกรรมลูกค้า
การคาดการณ์ความต้องการของตลาด
รวมถึงสร้างประสบการณ์ที่ถูกปรับแต่งให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคล
เพื่อเปลี่ยนผู้เยี่ยมชมให้กลายเป็นลูกค้าประจำ
โดยการนำข้อมูลของลูกค้ามาใช้
เช่น สินค้าที่พวกเขาซื้อ วิธีการเลือกสินค้า และข้อมูลส่วนบุคคลอื่นๆ
ธุรกิจสามารถปรับแต่งกลยุทธ์การตลาดเพื่อเพิ่มประสบการณ์การช้อปปิ้งของลูกค้าให้ดียิ่งขึ้น
· เข้าถึงอินไซต์
‘อีคอมเมิร์ซ’
หนึ่งในยูสเคสที่น่าสนใจและเกิดขึ้นจริงแล้วคือ
ความร่วมมือระหว่าง อะเมซอน เว็บ เซอร์วิสเซส หรือ เอดับบลิวเอส และ เอคอมเมิร์ซ (aCommerce)
ซึ่งได้พัฒนาและเปิดให้บริการแพลตฟอร์มข้อมูลใหม่ที่ใช้เทคโนโลยี Generative
AI เพื่อช่วยสนับสนุนการเติบโตของธุรกิจอีคอมเมิร์ซในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
สำหรับเครื่องมือหลักๆ
ที่นำมาใช้เช่น ฟีเจอร์ ASKIQ ที่มาใช้ในชุดโปรแกรม
Market Insights บนระบบ AWS Market Insights แพลตฟอร์ม SaaS ที่ให้ข้อมูลเชิงลึกด้านการแข่งขันและประสิทธิภาพของหมวดหมู่สินค้าจากเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซชั้นนำในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แก่แบรนด์ชั้นนำระดับโลก
รวมไปถึง
AskIQ
แพลตฟอร์มข้อมูลอีคอมเมิร์ซแห่งแรกในภูมิภาคที่ใช้ Generative
AI เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูลให้กับผู้ขาย
จากความร่วมมือครั้งนี้ ช่วยให้แบรนด์กว่า 200 รายสามารถวิเคราะห์และทำความเข้าใจข้อมูลของคู่แข่งได้อย่างมีประสิทธิภาพ
วัตสัน
ถิรภัทรพงศ์ ผู้จัดการประจำประเทศไทยของ อะเมซอน เว็บ เซอร์วิสเซส หรือ
เอดับบลิวเอส กล่าวว่า
อุตสาหกรรมอีคอมเมิร์ซในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว
และผู้นำในอุตสาหกรรมต่างพึ่งพาเทคโนโลยีคลาวด์หากต้องการมีข้อได้เปรียบในการแข่งขัน
โดยGenerative
AI กำลังเปลี่ยนมุมมองและวิธีในการใช้ข้อมูล
· ติดปีกบริการ
‘การเงิน’
อีกหนึ่งยูสเคสที่น่าสนใจคือ
แอสเซนด์ มันนี่ (Ascend Money) ยูนิคอร์นด้านฟินเทครายแรกของประเทศไทย
ผู้ให้บริการแอปพลิเคชัน “ทรูมันนี่”
ที่กำลังผลักดันการเข้าถึงบริการทางการเงินที่ครอบคลุมทั่วทั้งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วยการใช้
AI
นอกจากงานด้านการประมวลผลข้อมูลทั้งภาพและวิดีโอเพื่อวิเคราะห์ชุดข้อมูลขนาดใหญ่
ยังได้เร่งการเข้าถึงบริการทางการเงินในภูมิภาคโดยใช้ Generative
AI และแมชชีนเลิร์นนิง (ML) บนคลาวด์
ทั้งได้ทดลองใช้ Amazon Q Developer ผู้ช่วยที่ขับเคลื่อนด้วย
Generative AI สำหรับการเขียนโค้ดอัจฉริยะเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ
ลดเวลา และสร้างระบบอัตโนมัติให้กับงานของวิศวกร เช่น การเขียนโค้ด เพิ่มผลิตภาพ
และย่นระยะเวลาการพัฒนาบริการใหม่ๆ ได้มากถึง 30%
ตามรายงาน
"Accelerating
AI Skills: Preparing the Asia-Pacific Workforce for Jobs of the Future" โดย AWS และ Access Partnership พบว่า กว่า 9 จาก 10 บริษัทด้านการเงินในประเทศไทยมีแผนที่จะใช้ AI
ภายในปี 2571
โดยมุ่งหวังผลประโยชน์ในด้านนวัตกรรม
ผลลัพธ์ที่ดีขึ้น การทำงานอัตโนมัติ
รวมถึงป้องกันการปลอมแปลงรายละเอียดส่วนบุคคลด้วยโมเดล AI
ที่สามารถตรวจสอบคุณลักษณะใบหน้าได้ภายในไม่กี่วินาที
เพื่อให้ลูกค้าที่ถูกต้องได้รับประสบการณ์ที่ราบรื่น
มนสินี
นาคปนันท์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ (ร่วม) บริษัท แอสเซนด์ มันนี่ จำกัด เผยว่า Generative
AI และ Machine Learning ช่วยให้สามารถสร้างระบบอัตโนมัติสำหรับกระบวนการต่างๆ
เช่น การอนุมัติสินเชื่อแบบเรียลไทม์ และยกระดับการนำเสนอบริการบนทรูมันนี่
วัตสัน
มีมุมมองว่า
อุตสาหกรรมบริการทางการเงินในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กำลังเติบโตอย่างรวดเร็วตามการพัฒนาของภูมิภาค
ที่น่าสนใจพบว่าต่างหันมาใช้เทคโนโลยีคลาวด์เพื่อให้บริการแก่ชนชั้นกลางที่เติบโตขึ้น
ด้วยการเข้าถึงบริการทางการเงินที่ครอบคลุมคือรากฐานสำคัญของเศรษฐกิจ
ช่วยปลดล็อกศักยภาพของประชากร ส่งเสริมการเป็นผู้ประกอบการ
และผลักดันการพัฒนาที่ยั่งยืนและเข้าถึงได้ในระดับโลก
· ยกระดับ
‘การเกษตร’
ขณะที่
แอ๊กซอน (AXONS) บริษัทเทคโนโลยีการเกษตร (AgriTech)
ชั้นนำ นำเทคโนโลยีดิจิทัลหนุนเกษตรรายย่อย เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต
ด้วยแอป
FarmPro
ที่พัฒนาบนเอดับบลิวเอสสามารถลดต้นทุนในการดำเนินงานด้านการเกษตรลง
20% และเพิ่มประสิทธิภาพได้ถึง 60% ทั้งยังมีการสำรวจแนวทางผสานเทคโนโลยี AI
และ MLเพื่อช่วยวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกและเสนอคำแนะนำที่ตรงจุดต่อเกษตรกรรายย่อย
นอกจากนี้
แอ๊กซอน มีแผนที่จะทดลองใช้เทคโนโลยี Generative AI และแมชชีนเลิร์นนิง (ML) ขั้นสูง รวมถึง Amazon
Bedrock บนระบบคลาวด์เพื่อสร้างบริการติดตามและพยากรณ์สภาพอากาศอย่างแม่นยำ
ครอบคลุมทั้งอุณหภูมิ ปริมาณน้ำฝน ลม และความชื้น
ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะช่วยเกษตรกรวางแผนการเพาะปลูก ป้องกันความเสียหายจากสภาพอากาศ
ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุดในอนาคต
ทั้งเทคโนโลยี
AI
และ ML จะถูกพัฒนาต่อยอดเพื่อวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับพืชผล
ช่วยให้เกษตรกรสามารถระบุและพยากรณ์โรคพืชหรือการระบาดของแมลงล่วงหน้า เกษตรกรสามารถแก้ไขปัญหาได้ทันท่วงที
ลดการสูญเสีย และเพิ่มผลกำไรจากการทำเกษตรกรรมโดยรวม
“อุตสาหกรรมการเกษตรกำลังปรับตัวอย่างรวดเร็วเพื่อตอบสนองความต้องการอาหารที่เพิ่มขึ้น
โดยมีความสามารถใหม่ๆ ด้านเทคโนโลยีคลาวด์เป็นแรงผลักดันในการเพิ่มผลผลิต และ Generative
AI ที่จะทำให้การทำเกษตรกรรมง่ายและมีกำไรมากขึ้นสำหรับทุกฝ่าย”
วัตสัน กล่าว
ที่มา
:
กรุงเทพธุรกิจ
วันที่
11 มิถุนายน 2567