การเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล
“Digital
Transformation” กำลังดำเนินไปอย่างรวดเร็วทั่วโลกรวมถึงในประเทศไทย
หัวเว่ย
วิเคราะห์ว่า ปัจจุบัน หลายๆ
ประเทศลงทุนเม็ดเงินจำนวนมหาศาลเพื่อขับเคลื่อนให้เกิดการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล
พร้อมทั้งวางแผนยุทธศาสตร์ระดับชาติในการยกระดับระบบโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัลและพัฒนาระบบเศรษฐกิจดิจิทัลให้กับประเทศ
ประเทศเหล่านั้นเข้าใจดีว่า
ระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลที่แข็งแกร่งและระบบเศรษฐกิจดิจิทัลที่มั่นคง
คือตัวแปรสำคัญที่จะช่วยนำพาประเทศก้าวผ่านความซับซ้อนของกระบวนการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลและยกระดับศักยภาพทางการแข่งขันให้กับประเทศชาติ
ปัจจุบัน
ภูมิภาคอาเซียนยังคงมีการเติบโตทางเศรษฐกิจที่รวดเร็วและคึกคักที่สุดแห่งหนึ่งของโลก
เช่นเดียวกับระบบเศรษฐกิจดิจิทัลภายในภูมิภาคนี้ที่มีแนวโน้มเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องเช่นกัน
ด้วยจุดเด่นด้านยุทธศาสตร์เพื่อเป็นศูนย์กลางภูมิภาคอาเซียน
ประเทศไทย จึงเป็นแกนนำหลักในการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลให้กับภูมิภาค
ทั้งยังเป็นมีระบบเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองของภูมิภาคนี้
อย่างไรก็ตาม
การบรรลุเป้าหมายด้านการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลยังคงมีอุปสรรคที่ทำให้เป็นไปได้ยาก
เปลี่ยนจากระบบแยกส่วนการทำงาน
ไปสู่การใช้งานแบบรวมศูนย์ เพื่อต้นทุนรวมที่ต่ำลง
ประเทศไทยมีคลังข้อมูลภาครัฐกว่า
300 แห่ง ซึ่งมีสถาปัตยกรรมโครงสร้างระบบการจำลองเสมือน (virtualization)
ที่แยกส่วนแบบเก่า
การใช้งานในแบบกระจัดกระจายกันนี้ส่งผลให้เกิดปัญหาที่มีข้อมูลบางส่วน
สามารถเข้าถึงได้เฉพาะกลุ่ม หลายฝ่ายไม่สามารถเข้าถึงชุดข้อมูลเดียวกันได้ (data
silos)
ส่งผลให้การใช้งานทรัพยากรได้อย่างไม่มีประสิทธิภาพ
ขณะเดียวกันการใช้งานและการบำรุงรักษาคลังข้อมูลจำนวนมากนั้นยังมีค่าใช้จ่ายสูงตามมา
รัฐบาลจึงต้องมองหาแนวทางในการจัดตั้งระบบคลาวด์กลางของภาครัฐเพื่อรวบศูนย์การใช้งานคลังข้อมูลเหล่านี้
และเพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์จากทรัพยากรเดิมที่มีอยู่แล้วได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
นอกจากนี้
ที่เป็นประเด็นท้าทายยังมีการเปลี่ยนผ่าน ระบบ Virtualization แบบเก่า พร้อมก้าวไปสู่ระบบคลาวด์
เพื่อช่วยส่งเสริมการขับเคลื่อนประเทศไปสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะ
ระบบการขนส่งอัจฉริยะ และอุตสาหกรรม 4.0 ระบบการจำลองเสมือน (virtualization) ของคลังข้อมูลแบบดั้งเดิมไม่สามารถรองรับความต้องการเหล่านี้ได้ทัน
รวมไปถึง
การสร้างมาตรฐานให้กับอธิปไตยทางดิจิทัล
และการมองหาการสนับสนุนด้านการจัดการและบำรุงรักษา การจะบรรลุเป้าหมายนี้ได้นั้น
มาตรฐานที่เคร่งครัด
ระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านคลาวด์ที่สามารถรองรับการประมวลผลข้อมูลขนาดใหญ่และมีประสิทธิภาพสูง
และการลงทุนมหาศาลด้านการจัดการและซ่อมบำรุง (O&M) ในระยะยาวล้วนเป็นสิ่งจำเป็น
พร้อมกันนี้
เตรียมความพร้อมสำหรับระบบคลาวด์กลางภาครัฐ (national government
cloud) ที่มีข้อกำหนดที่เคร่งครัดทั้งในด้านความมั่นคง
การปฏิบัติตามมาตรการข้อบังคับทางกฎหมาย และคุณภาพของผลิตภัณฑ์และการบริการ
โดยอนาคตต้องขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม
สำหรับหัวเว่ยบทบาทจะยังคงมุ่งสนับสนุนประเทศไทยในการเดินหน้าสู่ยุคดิจิทัล
โดยใช้ความเชี่ยวชาญทั้งในด้าน Big Data, AI, โมเดลผ่านกู่
เทคโนโลยีคลาวด์แบบไฮบริด
พร้อมทั้งเดินหน้าให้การสนับสนุนประเทศไทยในการยกระดับระบบนิเวศด้านคลาวด์
แพลตฟอร์มดิจิทัล สร้างระบบโครงสร้างพื้นฐานที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี AI และแอปพลิเคชันการทำงานที่ตอบโจทย์ความต้องการเฉพาะด้านของแต่ละอุตสาหกรรม
ที่มา
:
กรุงเทพธุรกิจ
วันที่
19 มีนาคม 2567