โลกของเทคโนโลยี
มีการเปลี่ยนแปลงที่น่าสนใจมาให้ติดตามอย่างต่อเนื่อง ล่าสุด
แมคคินซีย์แอนด์คอมปะนี เปิดคาดการณ์แนวโน้มทางเทคโนโลยีที่สำคัญ “McKinsey
Technology Trends Outlook 2023” ยก Generative AI สร้างศักยภาพมหาศาล กระทบใหญ่หลวงในทุกอุตสาหกรรม!!
Generative
AI มีการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดและทำให้ได้ค้นพบศักยภาพใหม่ๆ ของเอไอ
ต่อยอดจากการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์และการพัฒนาเครื่องมือสำหรับแมชีนเลิร์นนิง
ผลลัพธ์ที่ได้คือ
หนทางใหม่ในการสร้างศักยภาพมหาศาลอันก่อให้เกิดผลกระทบใหญ่หลวงในทุกอุตสาหกรรม
โดย
Generative
AI สามารถเพิ่มมูลค่าต่อปีได้ประมาณ 4.4
ล้านล้านดอลลาร์ทั่วโลก จากรายงานล่าสุดของ McKinsey “The economic
potential of generative AI: The next productivity frontier” คาดว่า
ยูสเคสใหม่ๆ จาก Generative AI อาจเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจได้ประมาณ
15 - 40%
จากมูลค่าที่ได้จากเทคนิคปัญญาประดิษฐ์แบบดั้งเดิมและการเรียนรู้ของเครื่องหรือแมชีนเลิร์นนิง
แต่ทั้งนี้องค์กรต่างๆ ไม่ควรสนใจเพียงกระแสของ Generative AI เท่านั้น
แต่ควรให้ความสำคัญกับปัญญาประดิษฐ์แบบดั้งเดิมที่ยังคงมีศักยภาพสูงในการช่วยสร้างมูลค่าให้ด้วย
งานสายเทคขาดแคลนหนัก
วันนี้ยังคงมีการแข่งขันสูงในการว่าจ้างแรงงานสายเทคซึ่งยังคงเป็นกลุ่มขาดแคลน
และยังคงเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการเติบโต จากการสำรวจประกาศรับสมัครงานกว่า 3.5 ล้านตำแหน่ง
พบด้วยว่า
จากค่าเฉลี่ยโลก
หลายทักษะที่เป็นที่ต้องการมากที่สุดนั้นมีผู้ที่มีคุณสมบัติเพียงพอน้อยกว่าครึ่งหนึ่งของแต่ละประกาศเท่านั้น
ในทุกๆ
ภาคธุรกิจ จึงต้องอาศัยการคิดเชิงกลยุทธ์ในแต่ละองค์กรในด้านการบริหาร tech
talent ในภาพรวม ขณะที่ระบบอัตโนมัติต่างๆ
ที่พัฒนาไปอย่างรวดเร็วจะทำให้องค์กรต้องคิดแผนรองรับในการช่วยเหลือพนักงานในการเปลี่ยนผ่านสู่สายงานต่างๆ
ข้อมูลระบุว่า
แม้การประกาศรับสมัครงานในภาพรวมของเศรษฐกิจจะลดลงกว่า 13% ระหว่างปี 2564 ถึง 2565
ทว่าการประกาศรับสมัครงานในสายงานที่เกี่ยวข้องกับเทรนด์ใหม่ๆ
ด้านเทคโนโลยีกลับเพิ่มขึ้นกว่า 15%
ขณะเดียวกัน
มีการพัฒนาของเทคโนโลยีต่างๆ ที่เพิ่มขึ้นมาตลอด เช่น
สายงานการพัฒนาซอฟต์แวร์รุ่นถัดไป หรือ Next-Generation
Software เป็นตำแหน่งงานที่มีการเติบโตมากที่สุด
โลกเทคโนโลยีไม่แน่นอน
การลงทุนในเทคโนโลยีที่เป็นเทรนด์ส่วนใหญ่ลดลงในทุกปี
แต่ยังคงมีศักยภาพในการเติบโตสูง และการลงทุนในเทรนด์เทคโนโลยีต่างๆ
ก็ยังคงมีมูลค่าสูงถึง 1
ล้านล้านดอลลาร์รวมกันในปี 2565
ซึ่งแสดงถึงความเชื่อมั่นอย่างใหญ่หลวง
ขณะที่
การลงทุนในเทรนด์จำพวก Trust Architecture และอัตลักษณ์ดิจิทัล
หรือ Digital Identity เติบโตกว่า 50%
ในปีที่แล้ว อีกทางหนึ่งมีหลายๆ เทรนด์ที่มีมูลค่าการลงทุนลดลงจากจุดสูงสุดในปี 2564 เช่น เทคโนโลยีการเชื่อมต่อ (ลดลงประมาณ 40%) Cloud and Edge
Computing ( ลดลงประมาณ 50%) อนาคตของพันธุวิศวกรรม
หรือ Future of Bioengineering ( ลดลงประมาณ 60% )
นอกจากนี้
การลงทุนกับเทคโนโลยีที่มีการพัฒนามาเต็มที่แล้ว (Mature
Technology) อาจขึ้นอยู่กับงบประมาณระยะสั้นมากกว่ากลุ่มเทคโนโลยีที่มีการลงทุนระยะยาว
และสุดท้าย เนื่องจากเทคโนโลยีบางอย่างนั้นทำกำไรได้มากกว่า
บ่อยครั้งมันจึงสามารถพัฒนาต่อยอดได้มากกว่าด้วยเงินลงทุนที่น้อยกว่าเดิม
โฟกัสให้ถูกจุด
การให้ความสำคัญกับเทรนด์ที่อยู่ในกระแสมากเกินไปอาจเป็นอุปสรรคต่อการสร้างศักยภาพองค์กร
องค์กรที่ต้องการการเติบโตระยะยาวควรให้ความสำคัญกับการลงทุนในเทคโนโลยีที่สำคัญที่สุดต่อธุรกิจขององค์กรมากกว่า
แม้ว่าเทคโนโลยีใหม่ๆ
เช่น Generative
AI กำลังได้รับความสนใจอย่างมาก
แต่เทคโนโลยีที่มีการพัฒนาอย่างมั่นคง เช่น Cloud & Edge Computing, อนาคตของพันธุวิศวกรรม หรือ Future of Bioengineering ก็ยังคงมีการใช้งานที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในหลากหลายอุตสาหกรรม
และยังมีความสำคัญเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ด้วยเช่นกัน
นอกจากนี้
เทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ยังอยู่ในขั้นเริ่มต้น เช่น ควอนตัม
ก็ยังคงมีวิวัฒนาการอย่างต่อเนื่องและแสดงให้เห็นศักยภาพในการสร้างมูลค่าที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ
วันที่ 24 กรกฎาคม 2566