บพข.
ร่วมกับ สถาบันวิจัยและนวัตกรรมดิจิทัล-มอ.-เกาหลีใต้ “วิจัยและพัฒนานวัตกรรม 5G
- AI” เพื่อติดตามและป้องกันอาชญากรรม เช่น การตรวจจับใบหน้า
ติดตามวัตถุ สร้างความปลอดภัยในพื้นที่สาธารณะให้แก่ประชาชน
สถาบันวิจัยและนวัตกรรมดิจิทัล
ม.สงขลานครินทร์ ลงนามบันทึกข้อตกลง “วิจัยและพัฒนานวัตกรรม 5G และระบบปัญญาประดิษฐ์ AI” เพื่อกิจการงานตำรวจ ซึ่งนำร่องด้วยแพลตฟอร์ม
5G-AI รักษาความปลอดภัยในพื้นที่สาธารณะ
ที่เป็นความร่วมมือระหว่าง ม.สงขลานครินทร์, โรงเรียนนายร้อยตำรวจ,
บริษัท พอยท์ ไอที คอนซัลทิ่ง จำกัด
และภาคเอกประเทศเกาหลีใต้ ประกอบด้วย Hanwha
Techwin (ประเทศไทย) บริษัท ฟาโตส จำกัด (FATOS) และ บริษัท อินโนเดป อิงค์ (InnoDep Inc) เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีองค์ความรู้
เพื่อติดตามและป้องกันการเกิดอาชญากรรม
สร้างความปลอดภัยในพื้นที่สาธารณะให้กับประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพ
โดยมีการร่วมสนับสนุนทุนการทดสอบมาตรฐานการใช้งานจริงจาก
บพข. ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) สิรี
ชัยเสรี ผู้อำนวยการ บพข. กล่าวว่า
การสร้างความร่วมมือกับเครือข่ายนานาชาติเป็นกลไกหนึ่งในการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
ตามแพลตฟอร์มการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือนานาชาติ (Global Partnership)
เพื่อการพัฒนา ววน. ของประเทศ ซึ่ง บพข. ได้เข้ามาทำหน้าที่เป็นผู้เชื่อมโยงให้เกิดความร่วมมือในรูปแบบเครือข่ายที่มีการทำงานร่วมกับภาคการศึกษา สถาบันวิจัย ภาครัฐ และภาคเอกชน ของไทยและต่างประเทศ ในการทำงานวิจัยและสร้างนวัตกรรมที่เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ในรูปแบบของกระบวนการเลือกรับเทคโนโลยีจากต่างประเทศ และการถ่ายทอดวิทยาการและเทคโนโลยีที่พัฒนาในประเทศให้กับต่างประเทศที่ต้องการ
วรรณรัช สันติอมรทัต ประธานคณะอนุกรรมการ
แผนงานกลุ่มดิจิทัลแพลตฟอร์ม บพข. กล่าวเสริมว่า
การทำงานร่วมกับทีมวิศวกรของบริษัท พอยท์ ไอที คอนซัลทิ่ง จำกัด
(ผู้ร่วมสนับสนุนทุนวิจัย)
เพื่อติดต่อประสานงานกับผู้บริหารของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ จนได้ข้อสรุปในการจัดทำพื้นที่ Sandbox ร่วมกับหน่วยปฏิบัติงานด้านการรักษาความปลอดภัยของประเทศ
ซึ่งก็คือตำรวจ โดยใช้พื้นที่ของโรงเรียนนายร้อยตำรวจ สามพราน จ.นครปฐม
เป็นจุดนำร่องส่วนกลาง
และคาดหวังในการจะขยายผลดึงระบบจากพื้นที่อื่น
ๆ ในประเทศเชื่อมต่อกับส่วนกลาง ในที่นี้ได้วางพื้นที่เป้าหมายที่อ.หาดใหญ่
จ.สงขลา ซึ่งเป็นพื้นที่โดยรอบและรอยต่อกับระบบของม.สงขลานครินทร์
ซึ่งขณะนี้
ได้วางแผนทดสอบประสิทธิภาพของการทำงานของ PSU AI smart security platform ร่วมกับเทคโนโลยีของภาคเอกชนประเทศเกาหลีใต้ ได้แก่ บริษัท Hanwa Techwin บริษัท Innodep และบริษัท FATOS โดยกำหนดให้มีรูปแบบของการตรวจจับป้ายทะเบียนจุดเข้าออกพื้นที่
ตรวจจับใบหน้า ติดตามวัตถุ (Tracking) ค้นหาเป้าหมาย (Searching)
และแสดงผลของการติดตามวัตถุบนแผนที่ที่มีความละเอียดสูง
ซึ่งจะเป็นฟังก์ชันพื้นฐานของแพลตฟอร์มสำหรับการรักษาความปลอดภัยที่จะนำไปสู่เชิงพาณิชย์
การลงนามข้อตกลงครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของความคืบหน้าใน
“โครงการพัฒนาความร่วมมือนวัตกรรมเมืองอัจฉริยะ
ความร่วมมือระหว่างเกาหลีและไทย ในด้านระบบชาญฉลาดสำหรับการรักษาความปลอดภัย” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากระบวนการสร้างความร่วมมือระหว่างนักวิจัยและเอกชนจากประเทศเกาหลีใต้และไทยสนับสนุนการนำนวัตกรรมร่วมไปสู่ตลาดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
และดำเนินการเชื่อมต่อระบบที่เกิดขึ้นจากนวัตกรรมของทั้งสองฝ่าย
(เกาหลีใต้และไทย) ทดสอบในพื้นที่เมืองอัจฉริยะ รวมทั้งต่อยอดนวัตกรรมดิจิทัลปัญญาประดิษฐ์ระบบรักษาความปลอดภัยนักท่องเที่ยวสำหรับเมืองอัจฉริยะร่วมกับเทคโนโลยีจากประเทศเกาหลีใต้
ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ
วันที่
1 กันยายน 2565