“มหิดล-อว.-ดีอีเอส-WHA”
ร่วมเปิดศึกแข่งขันลีกหุ่นยนต์ เวิลด์ โรโบคัพ 2022 ต้อนรับ 45 ชาติ
เพิ่มแรงหนุนโรบอทรับเศรษฐกิจยุคดิสรัปต์
พร้อมอัดมาตรการส่งเสริมศักยภาพด้านหุ่นยนต์รับดีมานด์เมืองสมาร์ทและการลงทุน
เปิดประสบการณ์พร้อมกัน 13 – 17 ก.ค. ณ ฮอลล์ EH 98 -100
ไบเทคบางนา
คณะวิศวกรรมศาสตร์
ม.มหิดล ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
(DES)
พร้อมด้วย สหพันธ์โรโบคัพ และบริษัท ดับบลิวเอชเอ คอร์ปอเรชั่น
จำกัด (มหาชน) เปิดฉากการแข่งขันหุ่นยนต์ระดับโลกใน "รายการ World
RoboCup 2022" โดยมี 45 ชาติ
ร่วมนำหุ่นยนต์หลากหลายโซลูชันเข้าร่วมการแข่งขัน และอวดโฉมความอัจฉริยะ
รวมถึงยังมีเวทีสำหรับการแสดงผลงานสินค้าสิ่งประดิษฐ์ด้านนวัตกรรมหุ่นยนต์
เริ่มงาน 13 – 17 ก.ค. ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทคบางนา Hall EH98-100
การจัดการสอดรับกับมาตรการส่งเสริมหุ่นยนต์ในประเทศไทยเพื่อตอบโจทย์กับภาคการลงทุน
ภาคอุตสาหกรรม รวมถึงเมืองอัจฉริยะ อาทิ การยกเว้นการเก็บภาษี Capital
Gains Tax เป็นเวลา 10 ปี
การส่งเสริมหลักสูตรทางด้านสาขาวิชาวิศวกรรมหุ่นยนต์และเทคโนโลยี
การผลักดันผู้ที่มีความสามารถและบุคลากรสมรรถนะสูงเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรม
ประกอบด้วยการแข่งขันทั้งหมด 4 ประเภทหลัก คือ
ส่วนที่ 1
RoboCup Leagues
1. หมวด Major
League สำหรับผู้เข้าแข่งขันในกลุ่มอายุ 19 ปี ขึ้นไป
โดยจะมีการแข่งขันตั้งแต่วันที่ 13 – 16 ก.ค. 2565 รวมทั้งสิ้นจำนวน 130
รอบการแข่งขัน ประกอบด้วยการแข่งขันทั้งหมด 4 ประเภท คือ
การแข่งขันฟุตบอลหุ่นยนต์
(RoboCupSoccer)
การแข่งขันหุ่นยนต์กู้ภัย
(RoboCupRescue)
การประกวดหุ่นยนต์ในบ้านเพื่อการบริการส่วนบุคคล
(RoboCup@Home)
การจัดประกวดหุ่นยนต์และแขนกลเพื่องานอุตสาหกรรม
(RoboCupIndustrial)
2. หมวด Junior
League (RCJ) สำหรับเยาวชนอายุ 14 – 19 ปี จำนวน 16 รอบการแข่งขัน
ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการริเริ่มด้านการศึกษาที่เน้นการสนับสนุนกิจกรรมหุ่นยนต์ตั้งแต่ในระดับท้องถิ่น
ตลอดจนถึงระดับนานาชาติสำหรับนักเรียนตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษา
รวมถึงนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่ขาดแคลนทุนทรัพย์
ส่วนที่ 2
Robotics & AI Exhibitions
หนึ่งในเวทีการแสดงผลงานสินค้าในกลุ่มเครื่องมืออุปกรณ์อัจฉริยะ หุ่นยนต์ และระบบเครื่องกลที่ใช้อิเล็กทรอนิกส์ควบคุม รวมถึงสิ่งประดิษฐ์ด้านนวัตกรรมปัญญาประดิษฐ์ และระบบอัตโนมัติ โดยภายในงานจะมีบูธสินค้าเทคโนโลยีโรโบติกส์ที่น่าสนใจมาจัดแสดง
อาทิ
หุ่นยนต์ส่งยาและเวชภัณฑ์ในโรงพยาบาล
หุ่นยนต์ช่วยเหลือการเดิน-ลุก-นั่งสำหรับผู้สูงอายุ เก้าอี้รถเข็นไฟฟ้าขึ้นบันได
นวัตกรรมการพัฒนาระบบปัญญาประดิษฐ์
เพื่อจำแนกชนิดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (SARS-CoV-2) ด้วยวิธีวิเคราะห์ High-resolution Melt แบบอัตโนมัติ
และสาธิตเทคโนโลยีหุ่นยนต์เพื่อการวินิจฉัยทางการแพทย์ทางไกลของคณะวิศวกรรมศาสตร์
ม.มหิดล รวมทั้งข้อมูลด้านนวัตกรรมสำหรับธุรกิจโลจิสติกส์ การพัฒนานิคมอุตสาหกรรม
สาธารณูปโภคและพลังงาน และดิจิตอลแพลตฟอร์ม
การให้ข้อมูลเรื่องกลยุทธ์นวัตกรรมของบริษัท
ดับบลิวเอชเอ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) รวมถึงการนำเทคโนโลยี 360 องศา
เพื่อให้ผู้เข้าชมงานได้เยี่ยมชมนิคมอุตสาหกรรมของดับบลิวเอชเอ ได้จากภายในงาน
นอกจากนี้ยังมีการให้ข้อมูลผ่านเทคโนโลยี AI เสมือนจริงอีกด้วย
พร้อมกันนี้ยังพบกับระบบเทคโนโลยีสุดพิเศษจากมูลนิธิเอสซีจี
บริษัท ซีเกทเทคโนโลยี (ประเทศไทย)
และชุดทดสอบสารเคมีกำจัดแมลงตกค้างในผักและผลไม้
ชุดตรวจสิ่งปนเปื้อนบนวัสดุการแพทย์
รวมถึงนวัตกรรมทางการแพทย์อีกมากมายจากคณะเทคนิคการแพทย์ ม.มหิดล