มหิดล
นำร่องหลักสูตรวิศวกรรมหุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์การแพทย์ ปั้น ‘วิศวกรพันธุ์ใหม่’
เพื่อผลักดันเศรษฐกิจประเทศ คาดทิศทางอุตสาหกรรมหุ่ยนต์อีก 5 ปีหน้า โตในตลาด 1.7
ล้านล้านบาท
นับวันหุ่นยนต์เริ่มมีบทบาทในโลกยุคปัจจุบันมากขึ้น
มนุษย์นำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) มาประยุกต์ใช้ได้เกือบทุกกิจกรรมในชีวิตประจำวัน
ไม่ว่าจะเป็นในโรงงาน โรงพยาบาล ร้านอาหาร โรงเรียน ตามครัวเรือน
หรือในฐานะหุ่นยนต์กู้ภัย
จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์
คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.มหิดล ได้อธิบายถึงการพัฒนาอุตสาหกรรม AI
ในประเทศไทยไว้ว่า
ไทยจะต้องเร่งสร้างบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถในด้าน AI และหุ่นยนต์
กระตุ้นการพัฒนากำลังคนภายในประเทศ ผู้ประกอบการ นักประดิษฐ์ นักวิจัย
นิสิตนักศึกษา ให้เป็น “วิศวกรพันธุ์ใหม่”
โดยจะต้องมีความสนใจแก้ไขปัญหา
มองหาโซลูชันเพื่อขับเคลื่อนประเทศในด้านต่าง ๆ ทำงานร่วมกันเป็นทีม
รู้จักแลกเปลี่ยนความรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีในระดับสากล
เพื่อสามารถต่อยอดเชิงพาณิชย์และเติบโตในตลาดโลกอีก 5 ปีข้างหน้าโดยคาดการณ์ไว้ว่าจะเกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจมากกว่า
1.7 ล้านล้านบาท
การจัดแข่งขัน World RoboCup 2022
จึงเป็นโอกาสครั้งสำคัญที่คนไทยจะได้แสดงศักยภาพและฝีมือของตนเองให้กับต่างชาติ
เพื่อการร่วมลงทุนและการเป็นพาร์ทเนอร์ในอนาคต
และยังเปิดโอกาสให้กลุ่มธุรกิจสตาร์ทอัพได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์จากผู้เชี่ยวชาญระดับประเทศ
อีกทั้งยังเป็นการสร้างเครือข่าย
ภาคเอกชน นักลงทุน
และมหาวิทยาลัยชั้นนำจากทั้งในและต่างประเทศเพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมหุ่นยนต์
และส่วนสุดท้ายคือ RoboCup Symposium เวทีการประชุมวิชาการที่เปิดโอกาสให้บรรดาผู้เชี่ยวชาญ
และกลุ่มนักวิชาการระดับโลกได้แลกเปลี่ยนไอเดียใหม่ ๆ
ทางด้านเทคโนโลยีโรโบติกส์ต่าง ๆ ที่น่าสนใจ
โดยภายในงานมีเวทีการแข่งขันและอวดโฉมหุ่นยนต์ประเภทต่าง
ๆ อาทิเช่น การแข่งขันฟุตบอลหุ่นยนต์ (RoboCupSoccer) การแข่งขันหุ่นยนต์กู้ภัย (RoboCupRescue) การประกวดหุ่นยนต์ในบ้านเพื่อการบริการส่วนบุคคล
(RoboCup@Home) และการจัดประกวดหุ่นยนต์และแขนกลเพื่องานอุตสาหกรรม
(RoboCupIndustrial) รวมทั้งข้อมูลด้านนวัตกรรมสำหรับธุรกิจโลจิสติกส์
การพัฒนานิคมอุตสาหกรรม สาธารณูปโภคและพลังงาน และดิจิตอลแพลตฟอร์ม
หุ่นยนต์เอไอ-อิมมูไนเซอร์
ช่วยพัฒนาวัคซีน
นอกจากนี้ก็ยังมี Robotics
& AI Exhibitions เวทีการแสดงผลงานสินค้าในกลุ่มเครื่องมืออุปกรณ์อัจฉริยะ
หุ่นยนต์ และระบบเครื่องกลที่ใช้อิเล็กทรอนิกส์ควบคุม
รวมถึงสิ่งประดิษฐ์ด้านนวัตกรรมปัญญาประดิษฐ์ และระบบอัตโนมัติ
ภายในงานจะมีบูธสินค้าเทคโนโลยีโรโบติกส์ที่น่าสนใจมาร่วมจัดแสดง
ทางกรุงเทพธุรกิจจึงหยิบยกตัวอย่างผลงานปัญญาประดิษฐ์ของทีมวิจัยจากม.มหิดลแต่ละประเภทไว้ดังนี้
1.
หุ่นยนต์ส่งยาและเวชภัณฑ์ในโรงพยาบาล หุ่นยนต์ขนาดกลาง
ทำหน้าที่ให้บริการผู้ป่วยแทนบุคลากรโรงพยาบาล ในการส่งยาเวชภัณฑ์ อาหาร น้ำดื่ม
รวมถึงสิ่งของอื่น ๆ ให้กับผู้ป่วยในพื้นที่คัดแยก และควบคุมการติดเชื้อ
ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงในสภาวะที่เกิดเหตุการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19
โดยหุ่นยนต์จะสื่อสารกับผู้ป่วยด้วยโปรแกรมสื่อสาร
พูดคุยผ่านจอมอนิเตอร์ที่ติดตั้งไว้บนตัวหุ่นยนต์
ซึ่งถูกควบคุมด้วยเครือข่ายสัญญานอินเตอร์เน็ต ช่วยให้บุคลากรที่เกี่ยวข้อง
ตลอดจนญาติของผู้ป่วย ได้ติดต่อสื่อสาร ผ่านจอมอนิเตอร์
เพิ่มความอุ่นใจให้ผู้ป่วยตลอดการรักษา และยังช่วยลดภาระหน้าที่งานของบุคลากรภายในโรงพยาบาล
2.
หุ่นยนต์ช่วยเหลือการเดิน-ลุก-นั่งสำหรับผู้สูงอายุ
และเก้าอี้รถเข็นไฟฟ้าขึ้นบันได
เป็นเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ที่เป็นประโยชน์แก่สังคมผู้สูงวัย
เพราะจะช่วยให้ผู้สูงไหวเคลื่อนไหวร่างกายได้สะดวกขึ้นกว่าเดิม ช่วยให้การพยุงตัวผู้สูงอายุขึ้นจากเตียงทำได้ง่ายขึ้น
ทำให้ลดภาระงานของผู้ดูแล
3.
นวัตกรรมการพัฒนาระบบปัญญาประดิษฐ์ หรือ “หุ่นยนต์เอไอ-อิมมูไนเซอร์”
ปัญญาประดิษฐ์ที่ช่วยพัฒนาวัคซีน จำแนกชนิดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019
(SARS-CoV-2) ด้วยวิธีวิเคราะห์ High-resolution Melt แบบอัตโนมัติ
ซึ่งสามารถทดแทนมนุษย์ได้อย่างครบวงจร
ตั้งแต่การนำเพลทเลี้ยงเซลล์ที่บรรจุเซลล์เพาะเลี้ยงเข้าระบบ,
ช่วยระบบติดฉลากบนเพลท, ปฏิบัติการเจือจาง (Dilute)
ซีรั่มตัวอย่างที่มีแอนติบอดี (Antibody) ในหลอดทดลองด้วยตัวทำละลายในปริมาณตามต้องการ,
นำตัวอย่างที่ผสมเข้าสู่เซลล์เพาะเลี้ยงแล้ววางบนเครื่องเขย่า,
ถ่ายภาพและประมวลผลโดยการอ่านจำนวนไวรัสพลาค (plaque) ที่ปรากฏขึ้น และวิเคราะห์ผลทั้งระบบด้วย AI โดยได้ออกแบบให้เป็นระบบปิดในการปฏิบัติการด้วยเทคนิคปลอดเชื้อ
ซึ่งปลอดภัยต่อการใช้งาน และทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
โดยหุ่นยนต์ทั้งหมดที่กล่าวไปข้างต้น
เป็น 3 ตัวอย่างหุ่นยนต์ที่ถูกพัฒนาโดยทีมนักศึกษาจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.มหิดล
ผ่านการร่วมมือกับองค์กรต่าง ๆ
และได้รับการสนับสนุนบ่มเพาะองค์ความรู้จากศูนย์เครือข่ายวิจัยประยุกต์ทางเทคโนโลยีหุ่นยนต์ชีวการแพทย์
(BART
LAB) ที่พัฒนาบุคลากรด้านอุตสาหกรรมปัญญาประดิษฐ์
กรกฤษณ์ กล่าวว่า BART
LAB เตรียมทำหลักสูตรต้นแบบด้านวิศวกรรมหุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์
(Medical Robotics and AI Engineering) ที่พร้อมรับแพทย์ต่อยอดศึกษาต่อระดับปริญญาโทรุ่นแรกภายในปี
2566
โดยนวัตกรรมทุกอย่างจะผ่านการรับรองมาตรฐาน
ISO17025 ของห้องปฏิบัติการเชิงทดสอบด้านความเข้ากันทางชีวภาพ (Biocompatibility)
ซึ่งสามารถใช้ในการทดสอบชิ้นส่วนหุ่นยนต์
และเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ (Medical Robotics and AI) ที่ประกอบขึ้นด้วยชิ้นส่วนที่ปลอดภัยต่อมนุษย์ และกำลังจะไปให้ถึงมาตรฐาน ISO13485
ที่จะเป็นมาตรฐานรองรับการผลิตเป็นขั้นตอนที่อยู่ระหว่างการดำเนินการในเร็ววันนี้
ที่มา กรุงเทพธุรกิจ
วันที่ 17 กรกฎาคม 2565