ดีอีเอส
จัดกิจกรรม เดินสายสร้างการรับรู้ กฎหมายดิจิทัล ชู พ.ร.บ.คอมฯ
ไม่กระทบสิทธิเสรีภาพ หากรู้เท่าทัน หวังกฎหมายใหม่
พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลฯ
และพ.ร.ก.ป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีฯ เข้าถึงประชาชน
พร้อมเปิดรับฟัง แลกเปลี่ยนความคิดเห็น
นายวิศิษฏ์
วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) เปิดเผยว่า
กฎหมายดิจิทัล หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศ
และกฎหมายตามนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัล ที่กระทรวงฯ เข้าไปเกี่ยวข้อง
และอยู่ในความรับผิดชอบมีอยู่หลายฉบับ
เช่น พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม, พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562, พระราชกำหนดว่าด้วยการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2563 และพระราชกำหนดมาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี พ.ศ. 2566 เป็นต้น
จึงได้มีการจัดกิจกรรม
Digital
Law สัญจร ครั้งที่ 1/2566 ขึ้น
เพื่อให้ความรู้ด้านกฎหมายแก่ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานของรัฐ
หน่วยงานภาคเอกชน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป
ให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายที่ประชาชนให้ความสนใจและมีผลกระทบกับประชาชน
รวมทั้งเสริมสร้างภาคส่วนต่าง
ๆ
ให้มีส่วนร่วมในการรับรู้การบังคับใช้กฎหมายเพื่อการส่งเสริมและคุ้มครองประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพ
ตลอดจนรับฟังปัญหาปัญหาและข้อเสนอแนะต่อกฎหมายเพื่อนำไปปรับปรุงแก้ไขให้เป็นประโยชน์และคุ้มครองประชาชนให้มากยิ่งขึ้น
สำหรับกฎหมายที่มักจะถูกหยิบโยงขึ้นมาในทุกกระแสบนโลกออนไลน์
คือ พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม หรือที่เรียกกันว่า พ.ร.บ.คอมฯ
จึงเป็นตัวหลักในการให้ความรู้ และให้รู้เท่าทันกฎหมายดิจิทัล โดยมีความเป็นมา คือ
การกระทำความผิดซึ่งกระทบต่อหลักพื้นฐานด้านความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศ (Information
Security)
โดยมีพฤติกรรมเข้าข่ายลักษณะเฉพาะของอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์
คือ ผู้กระทำความผิดอยู่ตรงไหนก็ได้ในโลก
มีความเสียหายกระทบถึงคนจำนวนมากและรวดเร็ว
มีการใช้เทคโนโลยีที่ซับซ้อนในการกระทำความผิด มีความ
ยากต่อการตรวจพบร่องรอยการกระทำผิด และยากต่อการจับกุมและนำผู้กระทำผิดมาลงโทษ
“แม้กฎหมายนี้จะมีบทลงโทษที่ชัดเจน แต่ก็จะมีวรรคหนึ่ง วรรคสอง
ที่สามารถยอมความได้ ประชาชนจึงควรมีความรู้พื้นฐานในตัวกฎหมายนี้ เพื่อปกป้อง
และป้องกันตัวเอง ไม่ให้เป็นผู้กระทำโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ หรือตกเป็นผู้ถูกกระทำ
สรุปคือ ความผิดตามมาตรา 14 และ มาตรา 16 เฉพาะ ผู้อัพโหลด (Upload) เช่น การโพสต์ (Post)
การกดแชร์ (Share) การกด Like เท่านั้นที่อยู่ในข่ายจะเป็นผู้กระทำความผิด ส่วนผู้ดาวน์โหลด (Download)
หรือผู้อ่านไม่ผิด” ปลัดดีอีเอส กล่าว
ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ
วันที่ 31 กรกฎาคม 2566