มหาวิทยาลัย Leicester
พัฒนาโซลูชัน AI เพื่อเผชิญหน้ากับความต้องการใช้งาน
IoT ที่เพิ่มขึ้นบนระบบเครือข่ายเคลื่อนที่ในยุคปัจจุบัน
โดยเทคโนโลยีดังกล่าวจะทำการบริหารจัดการความต้องการใช้งานเครือข่ายเคลื่อนที่ซึ่งมีการใช้งานจำนวนมากบนความถี่ระดับ
Terahertz ที่พัฒนาโดยนักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์
การเพิ่มจำนวนการใช้งานของ Internet
of Things หรือ IoT อย่างมหาศาลนั้นเป็นผลให้ต้องยกระดับความเร็วในการใช้งานและพลังงานเพิ่มขึ้นสำหรับผู้ใช้อุปกรณ์เคลื่อนที่
แต่ก็ยังไม่อาจใช้ศักยภาพของเทคโนโลยีการเชื่อมต่อเคลื่อนที่ยุคต่อไปอย่าง 6G
ได้อย่างเต็มศักยภาพอยู่ดี
ยกตัวอย่างความต้องการใช้เครือข่ายการสื่อสารเคลื่อนที่ของสหราชอาณาจักรที่เติบโตขึ้น
Mobile
UK คาดการณ์ว่าอุปกรณ์ 25
ล้านชิ้นนั้นมีการเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายเคลื่อนที่ คาดว่าจะเพิ่มเป็น 30,000
ล้านหน่วยในปี 2030 ยิ่ง IoT โตขึ้นเท่าไหร่จะยิ่งมีเทคโนโลยีที่แข่งขันกันเชื่อมต่อเข้าหาเครือข่ายที่มีมากยิ่งขึ้น
ปัจจุบัน 5G
เป็นเทคโนโลยีการสื่อสารที่เรียกว่ามีเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยที่สุดที่เปิดใช้งานเชิงพาณิชย์อย่างกว้างขวาง
แต่เมื่อความต้องการใช้งานที่เพิ่มขึ้น
ทั้งในแง่ของผู้ใช้และอุปกรณ์ระบบจึงมีการเชื่อมต่อที่ช้าลงและมีต้นทุนด้านพลังงานที่เพิ่มมากขึ้น
ระบบเหล่านี้ต้องเผชิญหน้าความยากลำบากจากปัญหาการก่อกวนที่เกิดขึ้นจากตัวระบบเอง
ส่งผลกระทบร้ายแรงกับคุณภาพการสื่อสารและประสิทธิภาพ
เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นเทคนิคที่เรียกว่า
Multi
Carrier Division Duplex (MDD) ได้ถูกนำมาศึกษา
ทำให้ตัวรับสัญญาณในเครือข่ายเพื่อให้อยู่ในสถานภาพที่เรียกว่าแทบจะไร้การก่อกวนในตัวเองในโลกดิจิทัลด้วยการประมวลผล
Fast Fourier Transform (FFT)
ทีมได้ทำการทดสอบในสถานการณ์หน้างานจริงระดับอุตสาหกรรมพบว่าสามารถทำงานได้ดีกว่าเทคโนโลยีในปัจจุบัน
โดยลดการใช้พลังงานลงได้ถึง 10% ซึ่งสามารถใช้งานกับเทคโนโลยี 5G
และ 6G ได้
ทำให้เกิดการเลือกอุปกรณ์ที่ฉับไวยิ่งขึ้นและใช้การจัดสรรทรัพยากรที่น้อยลง
ผู้ใช้รู้สึกได้ว่าเครือข่ายเคลื่อนที่เร็วขึ้น กว้างขึ้น ใช้พลังงานน้อยลง
ทีมวิจัยได้พัฒนาโซลูชัน AI
สำหรับการเลือกอุปกรณ์และคลัสเตอร์ของ Access Point ซึ่ง AI นี้เองได้รับการเสริมแรงการเรียนรู้ทำให้สามารถค้นหาค่าที่ดีที่สุดในการใช้งานการเชื่อมต่อไร้สายได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
ลดพลังงาน ทรัพยากร และแรงงาน ในทางกลับกันหากปราศจาก AI จะต้องใช้เวลาไม่น้อยในการหาค่าสำหรับการติดตั้งและเลือกอุปกรณ์ในเครือข่าย
โดยการศึกษานี้เป็นส่วนหนึ่งในโครงการ 6G BRAINS ที่สนับสนุนงบประมาณโดยสหภาพยุโรป
ที่มา : mmthailand
วันที่ 7 ธันวาคม 2566