ถอดรหัสทางรอดของเกษตรกรไทยยุคดิจิทัล
4.0 เปลี่ยนผ่านจากการเกษตรแบบเดิมสู่ Smart
Farmer ด้วยการใช้เทคโนโลยี IoT และ Big
Data
ในยุคดิจิทัล
การดิสรัปชันเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วทุก ๆ อุตสาหกรรม ตามด้วยสถานการณ์โควิด-19 กลายเป็นตัวเร่งให้องค์กรต่าง ๆ และภาคธุรกิจเร่งใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาเป็นแกนหลักในการขับเคลื่อน
(Digital Transformation) เพื่อหาทางรอดสู่น่านน้ำใหม่
หนึ่งในนั้นคือ อุตสาหกรรมด้านการเกษตร
ชัย
วุฒิวิวัฒน์ชัย ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
(เนคเทค) กล่าวว่า
ต้นทุนการผลิตด้านเกษตรของประเทศไทยยังอยู่ในเกณฑ์ที่ต้องการพัฒนาอย่างมาก
ภาพจาก:
siambc
ข้อจำกัดของเกษตรกรไทยในยุคดิจิทัลคือ
การขาดความเข้าใจด้านเทคโนโลยี ขาดการเข้าถึงแหล่งทุน
ซึ่งมันสวนทางกันกับสภาพการทำงานของสังคมปัจจุบันที่ได้นำปัญญาประดิษฐ์ เทคโนโลยี
ตลอดจนการนำข้อมูลมาวิเคราะห์และจัดเก็บผ่าน AI ในรูปแบบ
Big Data หรือการประมวลผลผ่านคลาวด์
เพื่อเปลี่ยนผ่านองค์กรไปสู่ Digital Transform
เนคเทคมีทีมวิจัยด้านการเกษตรประมาณ
30 คนที่คอยวิจัยและพัฒนาเครื่องมือใหม่ ๆ เพื่อช่วยสนับสนุนเกษตรกร
มีหลายผลงานที่สามารถนำออกสู่ตลาดธุรกิจ และเกิดการใช้งานได้จริง วันนี้
ทางกรุงเทพธุรกิจจึงรวบรวมโซลูชันบางส่วน
ที่เกิดขึ้นในงานประชุมวิชาการและนิทรรศการเนคเทค ปี 2565 NECTEC Annual
Conference and Exhibition (NECTEC-ACE 2022)
การนำ
Big
Data มาใช้ในการเกษตร
ปัจจุบัน
Smart
Farm หลายแห่งได้เริ่มมีการใช้เทคโนโลยี IoT ติดตั้งเซ็นเซอร์
และจัดทำระบบวัดค่าแสดงผล รวมไปถึงการสร้างระบบควบคุมผ่าน Smart Device เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถบริหารจัดการ และเฝ้าดูสถานการณ์รอบ ๆ
แปลงเพาะปลูกได้ ซึ่งแพลตฟอร์มดังกล่าว มีดังนี้
1.
Agri-Map ระบบแผนที่เกษตรเพื่อการบริหารจัดการเชิงรุก: แพลตฟอร์มเป็นเสมือนมือขวาของเกษตรกร เพื่อช่วยบริหารจัดการเชิงรุกออนไลน์
ทั้งนี้ ได้รวบรวมข้อมูลทางภูมิศาสตร์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น สภาพพื้นดิน แหล่งน้ำ
อากาศ และสามารถนำมาวิเคราะห์หาพืชที่นำมาทดแทนในแปลงของเกษตรกรได้
จัดทำฐานข้อมูลของการเกษตรโดยครอบคลุมทุกพื้นที่ในประเทศไทย
ทำให้เกิดความเข้าใจถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อการเติบโต
และปริมาณของผลผลิต ได้แก่ ปริมาณ สัดส่วน และช่วงเวลาของธาตุอาหารที่พืชต้องการ
ของแต่ละสายพันธุ์ที่แตกต่างกันออกไป สภาพภูมิอากาศที่มีผลต่อศักยภาพการเติบโต
ปริมาณน้ำตามความต้องการของต้นพืช ข้อจำกัดเหล่านี้สามารถใช้ข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ใช้ในการวางแผน
บริหารจัดการ เพื่อเพิ่มปริมาณและคุณภาพของผลผลิตได้
ซึ่งสามารถใช้งานได้ผ่านทางแอปพลิเคชั่นมือถือและบนเว็บไซต์ agri-map-online.moac.go.th/
2.
Aqua-IoT เพื่อสัตว์น้ำเศรษฐกิจไทยยุคดิจิทัล:
ชุดอุปกรณ์ตรวจวัด ติดตาม แจ้งเตือน เพื่อช่วยในการเฝ้าระวังสภาวะและสถานการณ์ต่าง
ๆ ไม่ว่าจะเป็น กายภาพ เคมี ชีวภาพ ในบ่อเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
แทนการตรวจวัดตลอดเวลาด้วยคน ซึ่ง Aqua-IoT ทำงานผ่านอุปกรณ์ IoT แบบ Real Time ส่งข้อมูลการตรวจวัดผ่าน online ในหลายช่องทาง
ไม่ว่าจะเป็น
Mobile
Dashboard, Line Application, Web Browser ให้ผู้เพาะเลี้ยงได้ติดตาม
ตรวจสอบ วิเคราะห์ ป้องกัน แก้ไข อย่างตรงจุด และทันเวลา
ทำให้ผู้เพาะเลี้ยงสามารถวางแผนการเลี้ยงเพื่อป้องกัน
ลดความเสี่ยงต่อความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้น
3.
การพัฒนาโรงเรือนอัจฉริยะ (Plant Factory or Greenhouse):
สำหรับพืชที่ต้องการควบคุมคุณภาพเป็นพิเศษ
สามารถนำข้อมูลมาช่วยในการวิจัยและพัฒนาโรงเรือนอัจฉริยะ
ให้เป็นระบบการปลูกพืชที่สามารถบริหารจัดการสภาพแวดล้อมได้ เช่น การควบคุมแสง
อุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์ คาร์บอนไดออกไซด์ น้ำ และธาตุอาหารพืช
โดยใช้ระบบอัตโนมัติ ประกอบด้วยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และเทคโนโลยีดิจิทัล
เพื่อให้สามารถสร้างพื้นที่เพื่อการเกษตรได้ทุกที่ ทุกฤดูกาล
4.
KUBOTA Agri Solution: แพลตฟอร์มที่เป็นคลังความรู้แก่เกษตรกรและประชาชนทั่วไปได้เข้ามาสืบค้น
นำความรู้ไปพัฒนาต่อยอด และเป็นช่องทางในการนำเสนอเทคนิคต่าง ๆ
ด้านการจัดการเครื่องจักรกลทางการเกษตร ซึ่งภายในเว็บไซต์ประกอบด้วย
ข้อมูลด้านการเพาะปลูกข้าว ที่อยู่ในรูปแบบของปฏิทินเพาะปลูกข้าว ข้อมูลเรื่องพืช
รวมถึงการนำเครื่องจักรกลการเกษตร เช่น โดรน มาใช้ในพื้นที่เกษตร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานในทุกขั้นตอน
ล่าสุดได้ออกแอปพลิเคชั่น
“KAS
Crop Calendar application” ใช้แสดงผลปฏิทินการเพาะปลูก เช่น
การแจ้งเตือนสิ่งที่เกษตรกรต้องทำในแต่ละขั้นตอนปฏิทินการเพาะปลูก
ซึ่งแอปพลิเคชันจะแจ้งเตือนตั้งแต่ขั้นตอนการเตรียมดิน การเพาะปลูก การบำรุงรักษา
การเก็บเกี่ยวผลผลิต ตลอดจนการทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย
เพื่อเก็บเป็นข้อมูลและสามารถนำข้อมูลไปวิเคราะห์เพื่อลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น
และเพิ่มรายรับให้มากขึ้นในการทำการเพาะปลูกครั้งต่อไป
เกษตรสูงวัย-เกษตรยุคใหม่
กับการผสานความรู้และเทคโนโลยี
ด้าน
เสกสรรค์ จันทร์ขวาง รองผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร กล่าวว่า
ใน 2 ปีที่ผ่านมา พบการลดลงของเกษตรกรอายุน้อย
และมีแนวโน้มว่าเกษตรกรสูงอายุจะเพิ่มมากขึ้น เนื่องจาก “เกษตรกรไม่มีการเกษียน”
ข้าราชการเกษียนอายุตอน 60 ปี ส่วนใหญ่ก็กลับไปทำการเกษตร
การลดลงของเกษตรกรอายุน้อยส่งผลให้เกิดการนำเทคโนโลยีมาใช้น้อยลง ทำให้ไม่เกิดการผสมผสานประสบการณ์ ภูมิปัญญา และสินทรัพย์ที่สำคัญจากเกษตรกรสูงอายุ สิ่งนี้กำลังเป็นปัญหาครั้งสำคัญที่อุตสาหกรรมการเกษตรต้องพบเจอ จากงานวิจัย สถานการณ์สูงวัยกับผลิตภาพและการทำเกษตรของครัวเรือนเกษตรไทย ได้ตั้งคำถามถึงสิ่งที่เป็นโจทย์ท้าทายเกษตรยุค 4.0 ที่จะผันตนไปเป็น Smart Famer ไว้ว่า
เราจะนำเทคโนโลยีมาใช้ร่วมกับหรือทดแทนแรงงานสูงวัยเพื่อเพิ่มผลิตภาพได้อย่างไร?
เราจะดึงดูดให้แรงงานอายุน้อยให้เข้ามาในภาคเกษตรมากขึ้นได้อย่างไร?
ซึ่งในต่างประเทศได้ใช้การให้แรงจูงใจทางการเงินและโครงการให้ความช่วยเหลือ
(set-up assistant program) รวมถึงการถ่ายทอดความรู้ในการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมให้กับแรงงานอายุน้อยเพื่อดึงดูดให้แรงงานเหล่านี้สนใจหันมาทำเกษตรมากขึ้น
เราจะสนับสนุนการออกนอกภาคเกษตรของแรงงานสูงวัยอย่างไร?
เราควรมีมาตรการใดบ้างที่จะช่วยเหลือและสร้างภูมิคุ้มกันให้กับครัวเรือนเกษตรที่เข้าสู่สังคมสูงวัย?
ซึ่งสอดคล้องกับหัวข้อการพูดคุยในงาน
NECTEC-ACE
2022 ว่า
“เราจะนำเทคโนโลยีมาช่วยทำการเกษตรให้เกิดประสิทธิภาพสูงอย่างไร” ที่ได้รับความร่วมมือระหว่างภาครัฐ
ภาคเอกชน ภาคสถานศึกษา และตัวของเกษตรกร
เพื่อเตรียมความพร้อมงานวิจัยเทคโนโลยีแห่งอนาคต สร้างให้เกิดระบบนิเวศ (Ecosystem)
ที่มา
:
กรุงเทพธุรกิจ
วันที่
15 สิงหาคม 2565