ทีเคซีเอ็มโอยูพันธมิตรตั้งศูนย์เฝ้าระวังภัยไซเบอร์
ปีแรกตั้งเป้าไว้ 10 แห่ง มีการพูดคุยเบื้องต้น 4- 5 แห่งแล้ว
จากนั้นจะขยายไปยังองค์กรที่มีความอ่อนไหวต่อการคุกคามทางไซเบอร์ เช่น ธนาคาร สถาบันการเงิน สนามบิน
นาย เจย์ บาวิซี ประธานบริษัทอีซี
เคาน์ซิล โกลบอล เซอร์วิส จำกัดกล่าวว่า โลกกำลังถูกคุกคามด้วยอาชญากรรมทางไซเบอร์
แม้ว่าที่ผ่านมาการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ทั่วโลกหวาดกลัวคร่าชีวิตผู้คนไปกว่า
6.9 ล้านคน ตามข้อมูลขององค์การอนามัยโลก แต่อาชญากรรมทางไซเบอร์สร้างความเสียหาย
สร้างผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกอย่างมหาศาล หากเทียบเป็นมูลค่าจะสูงเป็นอันดับ 3
ของเศรษฐกิจโลก
ทั้งนี้
ภัยคุกคามไซเบอร์สร้างความเสียหายมากกว่า 8.5 ล้านล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ ต่อปี
และอัตราการเติบโตของภัยทางไซเบอร์สูงขึ้นมากจากเลขหลักเดียว สู่ตัวเลข 2 หลัก
นายเจย์ กล่าวว่า ประเทศไทย และอาเซียน
กำลังเผชิญกับภัยคุกคามทางไซเบอร์แต่การรับมือและการอบรมบุคคลากรให้มีความรู้ด้านนี้ยังน้อยมาก
ขณะที่เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงเร็วมาก
จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องพัฒนารับมือภัยคุกคามทางไซเบอร์
ความร่วมมือกับทีเคซีกรุ๊ปครั้งนี้เป็นโอกาสสำหรับประเทศไทยในการพัฒนาความขีดความสามารถในการรับมือภัยคุกคามทางไซเบอร์
ทั้งการสร้างศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและเฝ้าระวังภัยไซเบอร์
และการพัฒนาบุคลากรให้มีความพร้อม
ด้านนายสยาม เตียวตรานนท์
กรรมการผู้จัดการบริษัท บริษัท เทิร์นคีย์ คอมมูนิเคชั่น เซอร์วิส จำกัด ( มหาชน ) หรือ ทีเคซี กล่าวว่า ในความร่วมมือ
หรือ เอ็มโอยูครั้งนี้เป็นจุดเริ่มต้นที่ ทีเคซี จะได้รับการสนับสนุนจาก
อีซี-เคาน์ซิล ใน 2 ด้าน คือ 1.
ร่วมกันสร้างแนวทางสร้างศูนย์ปฏิบัติการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ ( Security
Operation Center หรือ SOC ) ที่มีมาตรฐานระดับโลกขึ้นในประเทศไทย
2. การอบรมเพื่อสร้างบุคลากรในประเทศไทย
ให้มีศักยภาพสูงสุดในด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ โดยบริษัทไอบีเอส คอร์ปอเรชั่น
จำกัด บริษัทในเครือ ทีเคซี
จะเป็นผู้ได้รับสิทธิเพียงรายเดียวในประเทศในการขายสิทธิการอบรม ประเมิน
เพื่อออกใบรับรองบุคลากรด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ มาตรฐานอีซี-เคาน์ซิล
นายสยาม กล่าวด้วยว่า
หลังจากการทำเอ็มโอยูแล้ว คาดว่าภายใน 4-5 เดือน จะลงทุนร่วม (Joint
venture ) ในการทำศูนย์ปฏิบัติการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ (SOC
) ในขั้นแรก จัดตั้งงบประมาณไว้ที่ 5 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ หรือประมาณ
175 ล้านบาท
ส่วนด้านการฝึกอบรมด้านตั้งเป้ารุกเข้าอบรมเรื่องของไซเบอร์ซิเคียวริตี้
ให้มหาวิทยาลัยของรัฐบาล ปีแรกตั้งเป้าไว้ 10 แห่ง มีการพูดคุยเบื้องต้น 4- 5
แห่งแล้ว จากนั้นจะขยายไปยังองค์กรที่มีความอ่อนไหวต่อการคุกคามทางไซเบอร์ เช่น ธนาคาร สถาบันการเงิน สนามบิน เป็นต้น
กลุ่มเป้าหมาหลักของทีเคซี คือ
องค์กรที่มีความร่วมมือกับทีเคซี กว่า 3,000
คนที่ผ่านการอบรมด้านความปลอดภัยไซเบอร์จากทีเคซีที่ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ
(สกมช.) ครอบคลุม สถาบันการเงิน อุตสาหกรรมขนส่ง โทรคมนาคม และโรงพยาบาล
ถัดมาคือความร่วมมือกับสถาบันของรัฐ
โดยจะนำหลักสูตรความปลอดภัยไซเบอร์เข้าไปในสถาบันอุดมศึกษา
การจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวังความมั่นคงปลอดภัยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งในการธุรกิจให้ครอบคลุมโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลครอบคลุมทั้งหมดจากนั้นจึงมีระบบที่เป็นบริการสมาร์ทโซลูชันแต่ละด้านเข้าไปให้บริการซึ่งปัจจุบันทีเคซีมีรายได้จากไซเบอร์ซิเคียวริตี้เพียงแค่
3-5% ของรายได้รวมของทีเคซีแต่เชื่อว่าในอีก 2-3 ปีต่อจากนี้ รายได้จากส่วนนี้จะเพิ่มเป็น
2 ดิจิแน่นอน
“ทีเคซีหลังจากเข้าตลาดฯ
เราจะขับเคลื่อนด้วยธุรกิจหลัก ถัดมาคือบริการโซลูชัน ระบบคลาวด์
ไซเบอร์ซีเคียวริตี้ ทีเคซี ตั้งเป้าโตปีละ 20% ปีที่แล้วโต 2,000 กว่าล้านบาท ปีนี้ตามเป้า 20% น่าจะประมาณ 3,000
ล้านบาท ”
ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ
วันที่ 7 กรกฎาคม 2566