การดึงพลัง
“AI”
มาช่วยขับเคลื่อนองค์กร และสร้างโอกาสใหม่ๆ
ทางธุรกิจเป็นโจทย์ใหญ่สำหรับทุกองค์กร แน่นอนว่านอกจากความสำเร็จที่คาดหวัง
อีกประเด็นที่สำคัญไม่แพ้กัน ยังต้องคำนึงถึงเรื่องของการกำกับดูแล และ “จริยธรรม”
เอริค
เอช โลบ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายกิจการภาครัฐโลกของ เซลส์ฟอร์ซ (Salesforce)
ผู้ให้บริการซอฟต์แวร์ระบบจัดการลูกค้าสัมพันธ์ (AI CRM) รายใหญ่ของโลก เปิดมุมมองต่อแนวทางการกำกับดูแล และกฎระเบียบด้าน AI
ของประเทศไทยว่า
ได้เห็นผู้กำหนดนโยบายร่วมมือกันทั้งในระดับโลกและภูมิภาคเพื่อสร้างกรอบการทำงานสำหรับเทคโนโลยี
AI ที่พัฒนาอย่างรวดเร็ว
สำหรับประเทศไทย
นับว่ามีความพยายามที่ชัดเจนมากในการพิจารณาอย่างรอบคอบเพื่อให้มั่นใจว่าได้เข้าใจตัวเทคโนโลยีอย่างแท้จริง
ก่อนที่จะออกกฎระเบียบควบคุม
นอกจากนี้
ผู้กำหนดนโยบายของประเทศไทยมีการทำงานร่วมกับผู้เชี่ยวชาญด้าน AI
มาโดยตลอด เพื่อศึกษาเกี่ยวกับเทคโนโลยีก่อนที่จะพัฒนาออกกฎควบคุม
“นี่คือกลไกที่ทำให้เราเห็นรากฐานของการวางกรอบนโยบายที่พิจารณาถึงแนวทางความสมัครใจต่างๆ
อย่างรอบคอบ ก่อนที่จะตัดสินใจออกกฎระเบียบควบคุมที่เข้มงวด”
·
ประเทศไทย ยังไม่ตกขบวน
เซลส์ฟอร์ซมองว่า
มีโอกาสเชิงบวกจำนวนมากที่อาจเกิดขึ้นในการกำกับดูแล แต่อย่างไรก็ดี AI
ต้องการความเข้าใจในความซับซ้อนละรายละเอียดต่างๆ
ดังนั้น
จึงควรสนับสนุนแนวทางพัฒนากฎระเบียบตามแนวทาง “Risk-Based
Frameworks” ซึ่งเป็นแนวคิดที่ได้รับการยอมรับอย่างมากในประเทศไทยว่าควรมีการแยกกฎระเบียบสำหรับความเสี่ยงระดับต่างๆ
จากระดับสูงสุด ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยของบุคคล
หรือศักยภาพทางเศรษฐกิจในอนาคต ออกจากระดับความเสี่ยงสูงมาก
นั่นก็คือกิจกรรมที่ส่งผลกระทบต่อโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ
“สำคัญมากที่กรอบแนวทางนโยบายมีความเหมาะสมกับลักษณะที่หลากหลาย
และแยกกำหนดภาระหน้าที่ ความรับผิดชอบ
และความคาดหวังสำหรับกิจกรรมที่มีความเสี่ยงสูง
ขณะเดียวกันก็เปิดพื้นที่ให้สำหรับนวัตกรรม การแข่งขัน
และการทดลองสำหรับบริบทที่มีความเสี่ยงต่ำกว่า”
บริษัทรู้สึกชื่นชมประเทศไทยถึงการรับรู้ถึงระดับความเสี่ยงที่หลากหลายรวมถึงมีผู้เกี่ยวข้องในระบบนิเวศของ
AI
ที่หลากหลาย ซึ่งมีทั้งบทบาทและความรับผิดชอบที่แตกต่างกันไป
โดยหลักการพื้นฐานซึ่งพิจารณาจากระดับความเสี่ยง
บทบาท และความรับผิดชอบ
ที่แตกต่างกันไปนี้เป็นรากฐานที่สำคัญมากสำหรับกฎระเบียบที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
·
ท้าทายการจัดการ
‘ข้อมูล’
ส่วนของ
ความท้าทายในการพัฒนา AI และมุมมองต่อการเปลี่ยนแปลงสู่ระบบดิจิทัลของประเทศไทย
เอริค กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงสู่ระบบดิจิทัลนั้นสร้างขึ้นบนพื้นฐานของข้อมูล
ไม่ว่าจะเป็นคุณภาพของข้อมูล
ความมั่นใจในการรักษาความเป็นส่วนตัวของข้อมูลและความปลอดภัย
สิ่งเหล่านี้ไม่เพียงแต่เป็นรากฐานของการพัฒนา AI เท่านั้น แต่ยังรวมถึงการเปลี่ยนสู่ระบบดิจิทัลด้วย
อย่างไรก็ตาม
ได้เห็นความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจประการหนึ่งซึ่งเกิดขึ้นทั่วโลกในปีที่ผ่านมา
คือการที่ผู้กำหนดนโยบายเริ่มตระหนักว่ายังมีสิ่งที่ต้องเรียนรู้มากมายเกี่ยวกับ AI
นอกจากนี้
เกิดความร่วมมือระหว่างผู้กำหนดนโยบายในประเทศต่าง ๆ
ซึ่งทำงานร่วมกันทั้งในระดับองค์การสหประชาชาติผ่านหน่วยที่ปรึกษาระดับสูงด้านปัญญาประดิษฐ์
หรือในระดับการประชุม G20, G7, OECD และการประชุมผู้นำด้านความปลอดภัย AI
ของสหราชอาณาจักร
ซึ่งมีทิศทางของความร่วมมือและทำงานร่วมกันอย่างต่อเนื่อง
ตัวอย่างเช่น
การพัฒนากฎหมายด้าน AI ของสหภาพยุโรปหรือ EU
AI Act ได้สร้างแนวคิดที่สำคัญมากสำหรับกรอบแนวทางปฏิบัติที่พิจารณาจากระดับความเสี่ยง
และเน้นการปกป้องสิทธิมนุษยชนด้านต่างๆ
เช่น
การปกป้องความเป็นส่วนบุคคล และการตระหนักว่าผู้ที่มีความเกี่ยวข้องกับ AI
มีบทบาทและความรับผิดชอบที่แตกต่างกัน
และมีความจำเป็นที่จะต้องแยกแยะความแตกต่าง
สิ่งเหล่านี้เป็นแนวคิดที่สำคัญมากในการพัฒนากฎหมาย AI ของสหภาพยุโรป
ขณะที่สหรัฐได้เลือกที่จะพัฒนาชุดข้อตกลงตามความสมัครใจซึ่งเป็นเสมือนการแสดงให้เห็นถึงความต้องการที่จะสร้างมาตรการที่รักษาความปลอดภัยในด้านนี้ขึ้นอย่างรวดเร็ว
“เราเห็นผู้กำหนดนโยบายเรียนรู้จากกันและกัน
ร่วมพัฒนาสร้างองค์ประกอบพื้นฐานที่สำคัญ
และค้นหาว่ากรอบการกำกับดูแลที่ยั่งยืนควรมีรูปแบบอย่างไร
ประเทศไทยเองก็เป็นส่วนหนึ่งของการเจรจาระดับโลกที่สำคัญนี้เช่นกัน”
ที่มา
:
กรุงเทพธุรกิจ
วันที่
29 เมษายน 2567