ผู้ผลิตหุ่นยนต์รายใหญ่อย่าง FANUC สนับสนุนการพัฒนา Empathetic Robot หรือหุ่นยนต์ที่มีความเห็นอกเห็นใจในกระบวนการอุตสาหกรรมซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Fluently ที่ตั้งเป้าสร้างแพลตฟอร์มหุ่นยนต์ที่สามารถมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมร่วมกันระหว่างมนุษย์และหุ่นยนต์ได้อย่างแท้จริง
โครงการนี้มีเป้าหมายในการพัฒนาอุปกรณ์สวมใส่ที่มีพื้นฐานมาจาก
AI
สำหรับผู้ปฏิบัติงานและหุ่นยนต์
เช่นเดียวกับการสร้างศูนย์ฝึกอบรมพิเศษที่ชื่อว่า The Fluently RoboGym ที่ซึ่งแรงงานในโรงงานและหุ่นยนต์สามารถฝึกการตอบสนองซึ่งกันและกันในกระบวนการด้านอุตสาหกรรมได้อย่างราบรื่น
ด้วยพันธมิตรกว่า
22
รายจากภาคอุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องในโครงการซึ่งได้รับการสนับสนุนโดย
Horizon
Europe โปรแกรมสนับสนุนด้านเงินทุนสำหรับวิจัยและนวัตกรรมที่สำคัญอย่างยิ่งของยุโรป
ระบบอัตโนมัติ, หุ่นยนต์, ห้องทดลองสำหรับเครื่องจักร
ภายใน Swiss University of Applied Sciences (SUPSI) รับหน้าที่การผสานด้านเทคนิคที่เกิดขึ้น
รวมถึงสถาบันชั้นนำหลายแห่งในโลก เช่น Politecnico di Torino ในอิตาลี และมหาวิทยาลัย Waseda ในญี่ปุ่น
แรงงานภายใต้กิจกรรมการผลิตนั้นมีความเสี่ยงที่ร่างกายจะต้องรับภาระที่หนักมากรวมถึงการะทางการรับรู้ประสาทสัมผัสทั้งหลายอีกไม่น้อย
ดังนั้นเมื่อแรงงานต้องทำงานใกล้กับหุ่นยนต์ซึ่งมีความอันตรายสูง
หุ่นยนต์จึงต้องจดจำและเข้าใจความรู้สึกและการตอบสนองที่ควรเกิดกับมนุษย์ให้ได้
เช่น การปรับพลวัตรในการทำงานที่เกิดขึ้นเป็นต้น
แน่นอนว่าการทำงานเป็นทีมระหว่างมนุษย์และเครื่องจักรเป็นสิ่งที่มีความสำคัญไม่น้อยในการผลิตยุคใหม่ของโรงงานอัตโนมัติ
ที่ซึ่งปริมาณการผลิตและผลิตภัณฑ์มีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง รวมถึงระบบการขนย้ายเคลื่อนที่และหุ่นยนต์ต้องทำงานร่วมกันภายใต้สถานีทำงานซึ่งมีความคงที่
แม้ในปัจจุบันหุ่นยนต์ของ
FANUC
จะมีเซนเซอร์ในการตรวจจับ มองเห็น และรู้สึกได้
แต่หุ่นยนต์เหล่านี้ยังไม่สามารถจดจำอารมณ์ของมนุษย์ได้
ทำให้ผู้เชี่ยวชาญต้องการก้าวข้ามกำแพงนี้เพื่อทำให้เกิดการใช้หุ่นยนต์ได้ง่ายขึ้นและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
นักวิจัยในโครงการ
Fluently
นั้นให้ความสำคัญกับการพัฒนางานบน 3
ห่วงโซ่มูลค่าซึ่งสำคัญต่อเศรษฐกิจของสหภาพยุโรปได้แก่
การแยกชิ้นส่วนและรีไซเคิลแบตเตอรี่ยานยนต์ไฟฟ้าและ e-bike, การตรวจสอบและประกอบในอุตสาหกรรมอากาศยาน
และการ Refurbish ชิ้นส่วนในงานอุตสาหกรรมที่มีความซับซ้อนด้วยกระบวนการทางเลเซอร์
ซึ่งการตอบสนองเหล่านี้โดยมากทำกันแบบ Manual ในปัจจุบันส่งผลให้แรงงานนั้นเกิดความเหนื่อยล้าทั้งกายและใจ
ยกตัวอย่างเช่น
การแยกชิ้นส่วนแบตเตอรี่ที่มีความเสี่ยงในการเผชิญหน้ากับการระเบิดหรือต้องถือชิ้นส่วนที่มีน้ำหนักมาก
บทบาทของหุ่นยนต์ในอนาคตนั้นต้องสามารถแบ่งเบาความเครียดในกระบวนการให้กับแรงงาน
และรับหน้าที่ดำเนินงานในกิจกรรมที่กินเวลามากอีกด้วย
ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นในการพัฒนานี้จะช่วยให้รักษาและส่งเสริมศักยภาพแรงงานได้เป็นอย่างดร
ที่มา : MMThailand
วันที่ 19 กรกฎาคม 2566