วิวัฒนาการด้านเทคโนโลยีของโลกในปัจจุบันนั้นมีการพัฒนาอยู่อย่างต่อเนื่อง
ไม่ว่าจะเป็นการนำปัญญาประดิษฐ์มาเป็นโซลูชั่นแก้ไขปัญหาต่าง ๆ
การเข้ามาของเทคโนโลยีเสมือนหรือเมตาเวิร์ส (Metaverse) ช่วยขับเคลื่อนให้เกิดโลกเสมือนจริง
หลาย
ๆ ธุรกิจนำ AI เหล่านี้มาปรับใช้กับองค์กรของตนเอง
หนึ่งในนั้นคือ อุตสาหกรรมสื่อ ล่าสุดได้เกิด “อินฟลูเอนเซอร์เสมือนจริง (Virtual
Influencer)” ในการนำเสนอเนื้อหา โฆษณา โดยการใช้หุ่นยนต์โปรโมท
หลายคนมองว่า นี่เป็นสิ่งใหม่ของโลกที่จะทำให้เกิดการขับเคลื่อนในรูปแบบใหม่ ๆ
แต่หลายคนก็มองว่า “หุ่นยนต์จะเข้ามาแย่งงานของมนุษย์”
ทางกรุงเทพธุรกิจจึงพามาทำความรู้จักกับสตาร์ตอัปสายดีพเทค
ที่นำ “AI
มาใช้ผลิตคอนเทนต์และรายงานข่าว” อย่างไม่เกรงกลัวต่อค่านิยม
“สักวันจักรกลจะครองโลก” แต่เป็นการมองว่า นี่คือโอกาสใหม่ ๆ ที่จะสเกลอัปธุรกิจ
ร่วมพูดคุยกับ ปิ๊ง ฐิตาภา สิริพิพัฒน์ ผู้อำนวยการ Digital Human ของ Deus Works อดีตนักข่าวมืออาชีพ
ที่ผันตนเองมาทำธุรกิจสร้างคอนเทนต์ด้วย Digital Human
ฐิตาภา
สิริพิพัฒน์
ก่อนหน้านี้
ปิ๊งทำงานเป็นผู้สื่อข่าวมาตลอด 11 ปี
โดยมีนายทุนที่สนใจเกี่ยวกับการนำ AI มาใช้ผลิตคอนเทนต์
จึงลาออกจากบริษัทข่าวที่ทำอยู่ และได้เข้ามาทำงานร่วมกับโปรแกรมเมอร์ วิศกร
และทีมงานต่าง ๆ ใน Deus
Works เพราะมองว่านี่คืองานที่ท้าทาย และน่าสนุก
โดยตนเองจะรับผิดชอบในส่วน
PR
Marketing นำสกิลของการคิดคอนเทนต์และสคริปต์ตอนเป็นนักข่าวมาป้อนลงใน
AI เพื่อให้รายงานแทนตนเอง ซึ่งหัวใจหลัก ๆ ของโปรเจ็กต์นี้ก็คือ
การผลิต AI ที่สามารถสร้างเนื้อหา เล่าเรื่องราวในมิติใหม่
โดยปัจจุบันแบ่ง Digital Human ออกเป็น 2 รูปแบบได้แก่
การโคลนนิ่งหน้าตัวเองให้เข้ามาอยู่ในระบบของ AI เพื่อใช้ในการนำเสนองาน
และการสร้างใบหน้าขึ้นมาใหม่ โดยแบ่งรูปแบบของการทำงานไว้ดังนี้
1. AI
พรีเซ็นเตอร์ ที่สามารถพูดได้ 50 ภาษา
สำเนียงตามเจ้าของภาษา
2. AI
นาง-นายแบบเสมือนจริง (Semireal) ที่มีหน้าตาเหมือนในเกม
3. AI
อินฟลูเอนเซอร์หรืออินฟลูเอนเซอร์เสมือนจริง อย่างเช่น น้องกะทิ จากแพลน บี มีเดีย และน้องไอรีน จาก SIA
Bangkok
“AI ไม่ได้เข้ามาแย่งงานมนุษย์อย่างที่หลายคนคิด แต่มันเป็นการปลดแอกการทำงานในรูปแบบใหม่ ที่จะเข้ามาช่วยแบ่งเบาภาระคนทำข่าวหรืออาชีพอื่น ๆ เพื่อให้นักข่าวตัวจริง คนที่ทำอาชีพนั้น ๆ ได้มีเวลาไปทำงานเชิงลึกที่ซับซ้อนขึ้น ทั้งแนวสืบสวนสอบสวน และวิเคราะห์เจาะลึก ส่วนงานง่าย ๆ อย่างการรายงานข่าว 50 ภาษาก็ปล่อยให้เอไอทำได้เลย”
ปิ๊งอธิบายว่า
คอนเทนต์บางคอนเทนต์อาจจะเหมาะกับการจ้างโปรดักชั่นที่ครบครัน
แต่จะมีบางคอนเทนต์ที่ไม่จำเป็นจะต้องจ้างโปรดักชั่นใหญ่ ๆ AI
จะช่วยลดคอร์สเรียนภาษาเพิ่ม และลดต้นทุนการสร้างคอนเทนต์ง่าย ๆ
เพราะว่า กว่าจะได้ข่าว 1 ชิ้นจะต้องมีโปรดักชั่นที่ใหญ่
ต้องมีการจ้างคนหลายคน เช่น ช่างหน้า ช่างผม ช่างไฟ ช่างภาพ
และก็ต้องจ่ายให้คนอ่านข่าวหรือพรีเซ็นเตอร์ การมี AI จึงสามารถช่วยลดต้นทุนตรงนี้ได้
ในส่วนของการนำเสนองาน ยกตัวอย่างเช่น ผู้บริหารที่มีภาระงานเยอะแต่ต้องการที่จะเข้าประชุมหรือเข้าพูดคุยกับพนักงานในองค์กรก็สามารถโคลนนิ่งใบหน้าของตนเองในช่วงวัยนั้น
แล้วใช้กับบางการประชุมที่ไม่ซับซ้อน หรือบางการแถลงข่าวสั้น ๆ
ซึ่งไม่จำเป็นจะต้องจัดเองทั้งหมดแต่ใช้ AI พรีเซ็นเตอร์ในการเล่าเรื่องและก็นำเสนอเรื่องราวของของตนเองได้ และการสร้างหน้าขึ้นมาใหม่จะเป็นรูปแบบของ Bussiness Model อย่างเช่น น้องไอรีน โดยทำให้น้องคนนี้กลายเป็นอินฟลูอินเซอร์
เป็นพรีเซ็นเตอร์ เป็นนางแบบ ที่เราสามารถเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์หน้าได้
ทางบริษัทสามารถออกแบบใบตามสิ่งที่ลูกค้าต้องการ
“ปิ๊งมองว่ามันเป็นการสร้างภาพลักษณ์ให้ดูทันสมัยมากยิ่งขึ้นเพราะว่าเรามีการใช้
AI พรีเซ็นเตอร์เข้ามาช่วย แค่มาถ่าย Staff หน้าไว้เพียงแค่ครั้งเดียว
หลังจากนั้นก็สามารถนำไปใช้งานพรีเซ็นต์ในเรื่องต่าง ๆ ได้เลย
ซึ่งมันจะเป็นมิติใหม่ของการทำคอนเทนต์ที่ไม่จำเป็นต้องจ้าง Full
Production แล้ว”
หลังจากที่
Deus
Works เปิดบริษัทมาได้ 3 เดือน
ขณะนี้มีตัวอย่างผู้ใช้บริการคือ
1.
บริษัท ดับบลิวเอชเอ กรุ๊ป (WHA GROUP) ซึ่งนำเอา
AI พรีเซ็นเตอร์ไปเป็นพนักงานขาย (Sale) เท่ากับว่าพนักงานขายที่เป็นมนุษย์จริง ๆ
ได้เอาเวลาไปทำงานอย่างอื่นที่ยากขึ้น เช่น วิเคราะห์ลูกค้า เก็บข้อมูลลูกค้า
หรือการออกแบบวิธีการขาย ส่วนเซลล์เวอร์ชั่น AI ก็จะทำหน้าที่แค่อธิบาย
Product ให้กับลูกค้าได้เข้าใจ
ซึ่งก็จะมีภาษาหลากหลายภาษาให้ลูกค้าสามารถเลือกฟังได้
ซึ่ง
WHA
ส่วนใหญ่จะมีลูกค้าจากประเทศเวียดนาม ญี่ปุ่น และจีน
เขาอยากพูดกับลูกค้าโดยตรงก็ใช้ AI ในการทำหน้าที่ตรงนี้แทน
จะประหยัดเวลากว่าการต้องร่าง Statement เอาไปให้ล่ามตรวจ
และเอาไปจ้างกองถ่ายเพื่อมาถ่ายทำ จึงใช้ AI พรีเซ็นเตอร์เพื่อช่วยลดต้นทุนและเพิ่มความรวดเร็ว
2.
เนชั่น ไทยแลนด์ (Nation Thailand) ที่ใช้การโคลนนิ่งใบหน้าของผู้สื่อข่าว
เพื่อนำไปรายงานข่าวที่ง่าย ๆ หลายภาษา ใช้กับข่าวที่มีความสั้น กระชับ
เน้นความรวดเร็ว และความหลากหลายของภาษาพูด
3. บริษัท B-healthy Asia ในหมวดบริษัทท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ โดยจะใช้อินฟลูเอนเซอร์ AI โปรโมทการท่องเที่ยวของประเทศไทย ซึ่งจะเป็นโมเดลที่ออกแบบหน้าตาใหม่ทั้งหมด เป็นตัวละครในโลกใบใหม่ที่สามารถใส่คอนเทนต์ลงไป ไม่ต้องคำนึงถึงเบื้องหลังของบุคคลคน ๆ นี้
ปิ๊งเล่าว่า จุดเด่นของบริษัทคือ การใช้แรงงานคนไทยผลิต AI ซึ่งเป็นการสนับสนุนฝีมือคนภายในประเทศ
และจุดแข็งที่สำคัญคือ ด้วยความเป็นบริษัทคนไทยจะมีเรทราคาที่ต่ำกว่า
(เรทการผลิตอยู่ที่ 900 บาท)
มีค่าลิขสิทธิ์ที่ถูกกว่าต่างประเทศ และทำให้ลดการพึ่งพาเทคโนโลยจากต่างชาติ
นอกจากนี้ ตัว AI ของ Deus Works ก็สามารถพูดได้ถึง
50 ภาษา โดยเป็นสำเนียงตามเจ้าของภาษา
ไม่ใช่การใช้เสียงคล้ายกูเกิ้ลแปลภาษา ทำให้ AI มีมิติมากยิ่งขึ้น
“หลังจากนี้อีก 1-2 ปี จะมีการปรับการใช้เสียงของ AI
ให้สามารถใช้เสียงของบุคคลคนนั้นได้เลย
และยังมีแพลนต่อยอดไปยังรูปแบบโฮโลแกรม ภาพ 3 มิติ
เพื่อเพิ่มฟังก์ชันให้เกิดการใช้งานในรูปแบบใหม่ ๆ ต่อยอดไปให้ถึง Global”
เมื่อ
20
ปีที่แล้ว อินเทอร์เน็ตเป็นสิ่งแปลกใหม่ เชื่อว่าอีกสิบปีข้างหน้า
เราก็จะรู้สึกคล้าย ๆ กันกับเมตาเวิร์ส (Metaverse) เพราะโลกเสมือนนี้จะสามารถเชื่อมคนที่อยู่ต่างสถานที่ได้มากกว่ารูปแบบที่ปัจจุบันมีอยู่
หัวใจของเมตาเวิร์สคือ
“ความเป็นปัจจุบัน” ทุกอย่างไม่ได้จำกัดอยู่ที่
เม้าส์,คีย์บอร์ด, VDO หรือ text
อีกต่อไป แต่มันจะไปถึงขั้นการส่งความรู้สึกสัมผัสผ่านออนไลน์
เราไม่สามารถคาดเดาได้ว่าเมตาเวิร์สในอีก 10 ปีข้างหน้าจะไปได้ถึงขั้นไหน
หน้าตาจะเป็นอย่างไร เพราะปัจจัยผันผวนนั้นมีเยอะ
ทั้งเรื่องของเทคโนโลยีและความต้องการของผู้ใช้เปลี่ยนแปลงตลอด
ซึ่งในปัจจุบันธุรกิจที่สามารถทำให้
Concept
ของเมตาเวิร์สที่เกิดขึ้นในโลกปัจจุบัน มันมีแผนชัดเจนขึ้น คือ
ธุรกิจที่เกี่ยวกับซอฟต์แวร์ หรือธุรกิจที่ใช้โลกออนไลน์ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมเกมส์
และอุตสาหกรรมบันเทิง
“ไม่อยากให้ทุกคนกลัวการใช้หุ่นยนต์และกลัวเทคโนโลยีใหม่
ๆ
เพราะข้อดีของนวัตกรรมเหล่านี้จะสามารถทำให้เราสเกลอัปธุรกิจของตนเองไปสู่ตลาดได้อย่างก้าวกระโดด”
ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ
วันที่ 9 กันยายน 2565