นักวิทย์ฯ
จากอินโดนีเซีย ค้นพบ คลื่นเสียงช่วยจับไมโครพลาสติก
วิธีที่จะช่วยแยกขยะพลาสติกออกจากแหล่งน้ำหรือมหาสมุทรแทนการใช้ฟิลเตอร์ดักจับขยะแบบเดิม
ไมโครพลาสติกเป็นพลาสติกชิ้นเล็ก
ๆ ที่ยากจะย่อยสลาย
เมื่อทิ้งไว้นานจนสะสมเป็นกองขยะรวมตัวกันอยู่ในมหาสมุทรเป็นชิ้นมหึมา
ถือเป็นภัยคุกคามที่ค่อย ๆ ทวีคูณเพิ่มมากขึ้น ทั้งต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม
นักรณรงค์หลายประเทศ
ยกตัวอย่างเช่น Charles Moore ผู้ก่อตั้ง Algalita
Marine Research and Education ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกําไรในแคลิฟอร์เนีย
กังวลอย่างมากเกี่ยวกับการจัดการขยะพลาสติกในมหาสมุทรที่เพิ่มปริมาณขึ้นปีละ 12
ล้านตัน
ขณะเดียวกัน
Dhany
Arifianto นักวิทยาศาสตร์จากสถาบัน Teknologi Sepulh
Nopember ประเทศอินโดนีเซีย ค้นพบ
วิธีแยกไมโครพลาสติกออกจากแหล่งน้ำ โดยไม่ใช้ตัวกรองหรือฟิลเตอร์ที่มีราคาแพง
หรือการดักจับด้วยน้ำมัน ฯลฯ
ซึ่งคลื่นเสียงที่ Arifianto พบ คาดการณ์ว่าหากพัฒนามากขึ้น และนำไปทดสอบทั้งผลดีและผลเสีย เพื่อจะทำให้มีความสามารถในการช่วยแยกขยะพลาสติกออกจากมหาสมุทรได้จริง ทำให้สามารถจับขยะได้เยอะ ๆ และรวดเร็วขึ้นมากกว่าวิธีที่ผ่านมา