ในปี 2560 ทั่วโลกมียอดจำหน่ายหุ่นยนต์เพื่อการอุตสาหกรรมประมาณ
381,000 ตัว มาในปี 2564 ยอดการจำหน่ายหุ่นยนต์พุ่งสูงขึ้นถึง 517,385
ตัว ซึ่งหากไม่มีการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 คาดว่ายอดจำหน่ายหุ่นยนต์ทั่วโลก
เพิ่มมาอยู่ที่ 630,000 ตัว จากข้อมูล International Federation of Robotics : IFR ในปี 2564 ประเทศไทย
ใช้หุ่นยนต์ในภาคการผลิตเป็นอันดับที่ 12 ของโลก จำนวนอยู่ที่
3,914 ตัว และเป็นที่ 1 ของอาเซียน โดยอันดับการใช้หุ่นยนต์ในภาคการผลิตมากที่สุดปี
2564 โดยอันดับที่ 1 ตกเป็นของประเทศจีน มียอดการใช้งานอยู่ที่ 268,195 ตัว เพิ่มขึ้นร้อยละ
51 รองลงมาอันดับที่ 2 คือประเทศญี่ปุ่น ยอดการใช้งานอยู่ที่ 47,182 ตัว เพิ่มขึ้นร้อยละ
22 อันดับที่ 3 ประเทศสหรัฐอเมริกา อยู่ที่ 34,987 ตัว เพิ่มขึ้นร้อยละ 14 อันดับ
4 คือประเทศเกาหลีใต้ ยอดการใช้งานอยู่ที่ 31,083 ตัว เพิ่มขึ้นร้อยละ 2 และอันดับ 5 คือประเทศเยอรมนี ยอดการใช้งานอยู่ที่
23,777 ตัว เพิ่มขึ้นร้อยละ 6 โดยหุ่นยนต์ที่ใช้ในการผลิต ปี 2564
ส่วนใหญ่จะอยู่ในอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ถึงร้อยละ 26
รองลงมาเป็นอุตสาหกรรมยานยนต์ ร้อยละ 23 อุตสาหกรรมโลหะและเครื่องจักร ร้อยละ 12
อุตสาหกรรมพลาสติกและเคมีภัณฑ์ ร้อยละ 5 และอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม
ร้อยละ 3 โดยคาดการณ์ว่าปริมาณการใช้งานหุ่นยนต์ในภาคอุตสาหกรรมจะยังคงเพิ่มขึ้นในอัตราที่สูง
เนื่องจากต้นทุนการผลิตหุ่นยนต์มีแนวโน้มปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในปี 2538 ต้นทุนของหุ่นยนต์
อยู่ที่ 131,433 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อมาลดลงเหลือแค่เพียง 31,312 ดอลลาร์สหรัฐ ในปี
2557 ซึ่งมีการคาดการณ์ว่า ในปี 2568 ต้นทุนหุ่นยนต์อุตสาหกรรมจะลดลงเหลือเพียงแค่
10,800 ดอลลาร์สหรัฐ จากปัจจัยสนับสนุนนด้านความก้าวหน้าที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต
ตลอดจนต้นทุนที่ปรับตัวลดลงอย่างมาก ซึ่งจะเป็นปัจจัยสำคัญในการนำหุ่นยนต์มาใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตมากยิ่งขึ้น
รับชมข่าวเพิ่มเติมได้ที่ >>
https://youtu.be/5Bw0TFwYTxw
ที่มา : EEC Focus TNN
Online
วันที่ 20 ธันวาคม 2565