เมตาเวิร์ส
(Metaverse) คลื่นลูกใหญ่ที่กำลังก่อตัว
และยังเป็นเรื่องใหม่สำหรับธุรกิจอุตสาหกรรมอยู่มาก
แต่ใช่ว่าจะหลีกหนีเกลียวคลื่นนี้ได้ ในทางกลับกัน เราสามารถใช้ประโยชน์จากการโต้คลื่นลูกนี้
“เมตาเวิร์ส
(Metaverse) คือ สภาพแวดล้อมเสมือนจริงแบบ 3
มิติในรูปแบบออนไลน์อย่างต่อเนื่อง โดยใช้เทคโนโลยี AR augmented reality, VR
virutual reality, และ MR mixed reality เพื่อเชื่อมโยงกับแง่มุมต่าง ๆ
ของโลกแห่งความเป็นจริง เช่น ผู้คน
สถานที่ และสิ่งต่าง ๆ ”
เมื่อวันที่
23 พฤษภาคม 2022 สมาคมเพื่อความก้าวหน้าของออโตเมชัน (Association for Advancing
Automation: A3) สหรัฐอเมริกา
เผยแพร่บทความในหัวข้อ “5 เทรนด์ Metaverse
ภาคอุตสาหกรรมที่กระทบผู้ผลิต”
มีรายละเอียด ดังนี้
1.
ฝึกฝนพนักงานรวดเร็วยิ่งขึ้น ปลอดภัยยิ่งขึ้น
ปัจจุบันหลายบริษัทเริ่มมีการนำเทคโนโลยี
Virtual Reality
(VR) มาใช้ในการอบรมพนักงาน
เพื่อให้พนักงานเรียนรู้วิธีการใช้งานเครื่องจักรและอุปกรณ์ต่าง ๆ
โดยไม่ต้องใช้เครื่องจักรจริง
ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงจากอุบัติเหตุระหว่างฝึกงานได้เป็นอย่างมาก ยกตัวอย่างเช่น
บริษัท JetBlue ซึ่งได้จับมือกับ Strivr บริษัทซอฟต์แวร์ นำ VR มาใช้ในการอบรมพนักงานแทนการให้พนักงานฝึกซ่อมบำรุงเครื่องบินจริง
โดยการจำลองเครื่องบินออกมาให้เหมือนจริงที่สุด
ซึ่งช่วยลดค่าใช้จ่ายและเวลาที่ใช้ในการฝึกได้อย่างมาก
นอกจากนี้
การนำ VR มาใช้งานร่วมกับทฤษฎีการเรียนรู้
วิทยาศาสตร์ข้อมูล และการออกแบบเชิงพื้นที่ ยังช่วยให้ผู้เรียน
โดยเฉพาะพนักงานที่มีอายุน้อยได้รับประสบการณ์การเรียนรู้ที่ดีกว่าการเรียนในชั้นเรียนเป็นอย่างมาก
เนื่องจากการเรียนรู้ผ่าน VR
นั้น
ผู้เรียนสามารถผิดพลาดได้โดยไม่เกิดความเสียหาย ต่างกับการเรียนรู้หน้างาน
ซึ่งอาจทำให้เครื่องจักรและอุปกรณ์เสียหายได้
อีกตัวอย่างหนึ่ง
คือ Verizon ผู้ให้บริการเครือข่ายไร้สายจากสหรัฐฯ
ซึ่งนำ VR มาใช้ในการฝึกพนักงานให้พร้อมรับสถานการณ์ฉุกเฉินอย่างการโดนปล้นร้าน ซึ่งทางด้าน Strivr ยังได้เปิดเผยถึงการอบรมผ่าน
VR อื่น ๆ เช่น การขนย้ายสินค้าจากรถบรรทุก
ไปจนถึงการอบรบด้านความปลอดภัยในสายการแปรรูปอาหารอีกด้วย
นาย
Richard Ward จากบริษัทที่ปรึกษา McKinsey แสดงความเห็นว่า ปัจจุบัน อุตสาหกรรมการผลิต
อุตสาหกรรมหนัก และกองทัพสหรัฐฯ พบว่า การใช้ VR อบรมพนักงานนั้นเหมาะเป็นอย่างมากสำหรับใช้ในการสอนพนักงานใหม่ให้เรียนรู้ตำแหน่งชิ้นส่วนบนเครื่องจักรและอุปกรณ์ต่าง
ๆ ก่อนไปเรียนรู้กับอุปกรณ์จริง
2.
การทำแบบจำลองและปรับปรุงก่อนใช้งานจริง
หนึ่งในเทคโนโลยีสำคัญของเมตาเวิร์ส
คือ Digital Twin หรือการจำลองวัตถุทางกายภาพ กระบวนการ
และระบบ ให้ออกมาเป็นข้อมูล หรือ “แฝด” ดิจิทัล ซึ่งในอุตสาหกรรมการผลิต เทคโนโลยี
Digital Twin สามารถนำมาใช้ในกระบวนการออกแบบผลิตภัณฑ์
เพื่อวิเคราะห์ข้อบกพร่องก่อนผลิตจริง ไปจนถึงการทดสอบในสภาพแวดล้อมจำลอง เช่น
การทดสอบระบบขับขี่อัตโนมัติในถนนที่จำลองจากถนนจริงเพื่อพัฒนาระบบให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
Digital
Twin เทคโนโลยีเปลี่ยนโลกอุตสาหกรรม
BMW
เป็นหนึ่งในบริษัทที่นำ
Digital Twin มาใช้ โดยได้สร้างโรงงานใน Metaverse และทำการทดสอบผลิตยานยนต์ใน Metaverse เป็นเวลา 6 เดือน
จากนั้นจึงนำผลลัพธ์ที่ได้มาปรับใช้กับสายการผลิตจริง ซึ่งแม้ว่า BMW จะไม่ได้มีการเปิดเผยตัวเลขทางการ
แต่สื่อตะวันตกรายงานว่าสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตได้ 30%
3.
สนับสนุนทางไกลด้วย AR/VR
นาย
Rajat Gupta ผู้อำนวยการอาวุโส
ฝ่ายพัฒนาธุรกิจระบบอัตโนมัติ Mixed
Reality และ Metaverse บริษัท Microsoft
แสดงความเห็นว่า
นอกจากการอบรมพนักงานในสายการผลิตแล้ว พนักงานบริการก็สามารถใช้ AR/VR เป็นตัวช่วยในการบำรุงรักษาและซ่อมแซมเครื่องจักรและอุปกรณ์ได้เช่นกัน
โดยใช้ VR ในการสนับสนุนทางไกลแทนการเดินทางเข้าไปในโรงงาน
โดยเฉพาะในช่วงการระบาดของโควิดที่ทีมวิศวกรไม่สามารถเดินทางได้โดยสะดวกและมีความกังวลต่อสุขภาพ
เทคโนโลยี
VR ใกล้ใช้จริงในอุตสาหกรรมการผลิตและโลจิสติกส์
อีกข้อดีหนึ่ง
คือการสนับสนุนทางไกลเช่นนี้ไม่จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ราคาแพงเสมอไป ยกตัวอย่างเช่น
พนักงานสามารถใช้ AR
คู่กับสมาร์ทโฟนแทนการซื้อแว่น
VR ได้
อีกทั้งการสนับสนุนการทำงานทางไกลยังสามารถใช้ในการกระตุ้นให้พนักงานตื่นตัวเหมือนถูกนายจ้างสังเกตุการณ์อยู่ได้เช่นเดียวกัน
4.
ยกระดับความร่วมมือในการออกแบบผลิตภัณฑ์
อีกความเปลี่ยนแปลงหนึ่งจากการระบาดของโควิด
คือการนำ VR มาใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์
เนื่องจากการทำงานทางไกลทำให้วิศวกรและพนักงานที่เกี่ยวข้องไม่สามารถอยู่ในที่เดียวกันได้
และเป็นอุปสรรคต่อการทำงานอย่างมาก แต่ VR
ช่วยให้การออกแบบผลิตภัณฑ์จากทางไกลเป็นไปง่ายขึ้น
อีกทั้งยังสามารถร่วมงานกับผู้เชี่ยวชาญได้จากทุกมุมโลก
นาย
Rajat Gupta ผู้อำนวยการอาวุโส
ฝ่ายพัฒนาธุรกิจระบบอัตโนมัติ,
Mixed Reality และ Metaverse บริษัท Microsoft
แสดงความเห็นว่า
ที่ผ่านมา ในอุตสาหกรรมยานยนต์
ขั้นตอนการออกแบบมักเริ่มจากแบบจำลองดินเหนียวซึ่งผู้เกี่ยวข้องสามารถมองเห็นภาพได้โดยง่าย
จากนั้นจึงเปลี่ยนเป็น CAD
อย่างไรก็ตาม CAD เป็นโปรแกรมที่สามารถทำงานร่วมกันได้ไม่สะดวกนัก
อีกทั้งยังเป็นเรื่องยากที่ทุกคนจะเห็นภาพตรงกัน จึงเริ่มมีการนำเทคโนโลยี AR/VR มาใช้เพื่อให้ทุกฝ่ายเห็นภาพรถเป็น 3D ได้พร้อมกัน และร่วมกันออกแบบได้โดยง่าย
ส่วนอีกแนวคิดหนึ่ง
คือ ห้องประชุมจำลองที่ผู้ใช้จากนานาประเทศสามารถเข้าร่วมทำงานด้วยกันได้โดยไม่จำเป็นต้องเดินทาง
5.
virtual-to-physical
และ physical-to-virtual
การเชื่อมโลกทางทางกายภาพเข้ากับโลกเวอร์ชวล
คือสิ่งที่สามารถสร้างโอกาสใหม่ ๆ ให้อุตสาหกรรมการผลิตได้เป็นอย่างมาก โดยในหลายปีที่ผ่านมา
หากเอ่ยถึงคำว่า “เวอร์ชวล (Virtual)”
แล้ว
สิ่งที่เป็นเทรนด์คือการซื้อขายผลิตภัณฑ์ดิจิทัลในเกมด้วยเงินจริง
ซึ่งเป็นรูปแบบของ virtual-to-virtual
แต่สำหรับอุตสาหกรรมการผลิต
แนวคิดนี้สามารถนำมาปรับใช้ ด้วยการออกแบบผลิตภัณฑ์เวอร์ชวล จากนั้นจึงผลิตจริงในภายหลัง
นาง
Cathy Hackl ผู้เชี่ยวชาญด้าน Metaverse แสดงความเห็นว่า แนวทางนี้ไปได้ไกลกว่า virtual-to-virtual คือ สามารถเป็นได้ทั้ง virtual-to-physical และ physical-to-virtual
virtual-to-physical
คือ
การเปลี่ยนจากผลิตภัณฑ์ดิจิทัลมาเป็นผลิตภัณฑ์จริง เช่น การสั่งซื้อสินค้าบน Virtual เพื่อให้สินค้านั้นมาส่งถึงบ้าน
โดยตัวอย่างหนึ่งซึ่งเริ่มมีการใช้งานจริงแล้วในวงแคบ คือเว็บไซต์ HeroForge ที่อนุญาตให้ผู้ใช้ออกแบบแบบจำลองบนเว็บโดยการเลือกองค์ประกอบต่าง
ๆ จากข้อมูลที่เว็บมีให้ เมื่อแล้วเสร็จ ทางบริษัทจะทำการพิมพ์แบบจำลองนั้นออกมาด้วย
3D Printer เพื่อส่งให้ลูกค้า
หรืออนุญาตให้ลูกค้าซื้อไฟล์ 3D
เพื่อนำไปพิมพ์เอง
ส่วน
physical-to-virtual
เป็นแนวทางตรงกันข้ามกันคือ
ผลิตภัณฑ์จริงที่จับต้องได้ แต่สามารถให้ประสบการณ์ virtual ได้ และได้ยกตัวอย่างเป็นบริษัทของเล่น L.O.L.
Surprise ซึ่งวางจำหน่ายการ์ดเกมที่มาพร้อม
QR Code สำหรับนำไปสแกนแลกกับ NFT
แม้ว่าทั้งสองตัวอย่างนี้จะเป็นเพียงการใช้งานในวงแคบ
แต่นาย Cathy Hackl เชื่อมั่นว่า
ในอนาคตจะมีบริษัทให้ความสนใจกับแนวคิดนี้มากยิ่งขึ้น
ที่มา M
Report
วันที่ เผยแพร่ 3/6/2565