Milton Guerry, President of the International
Federation of Robotics (IFR) ได้แสดงเจตนารมย์ในการสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติ
ด้วยการส่งเสริมการนำหุ่นยนต์มาใช้เพื่อการประหยัดทรัพยากรในการผลิต
รวมถึงการผลิตด้วยเทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ในอนาคต
หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติเป็นเทคโนโลยีหลัก
ที่มีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาในอนาคต
การนำระบบอัตโนมัติอัจฉริยะมาช่วยลดต้นทุนการผลิตนั้น
ยังมีส่วนสำคัญต่อการพัฒนาเทคโนโลยีแบตเตอรี่ในอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า เช่น
การผลิตเซลล์เชื้อเพลิงสำหรับพลังงานไฮโดรเจนเพื่อทดแทนน้ำมันเชื้อเพลิง
และการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตที่มีประสิทธิภาพสูงเพื่อช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
พลังงานสะอาด นวัตกรรมทางอุตสาหกรรม
และการเกษตรอัจฉริยะ
เป็นเพียงสามตัวอย่างที่แสดงให้เห็นว่าการใช้หุ่นยนต์สามารถช่วยในการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติได้อย่างไร
พลังงานสะอาด : พลังงานแห่งอนาคต พลังงานไฟฟ้า
พลังงานความร้อนจากแสงอาทิตย์ (UN´s SDG 7)
แนวโน้มการนำพลังงานไฟฟ้าและพลังงานแสงอาทิตย์
มาใช้ทดแทนพลังงานเชื้อเพลิงจากฟอสซิล ที่เพิ่มสูงขึ้นในอนาคตนั้น คาดว่าภายในปี
2050 การผลิตไฟฟ้าหนึ่งในสามของโลก จะเกิดจากแผงโซลาร์เซลล์
ครึ่งหนึ่งของการใช้พลังงานของโลกเป็นการใช้พลังงานในการทำความร้อน
คาดว่าจะส่งผลทำให้ความต้องการใช้แผงโซลาร์เซลล์เพิ่มสูงขึ้น
ซึ่งหมายความว่าภาคการผลิตต้องสามารถผลิตได้ในปริมาณที่สูงขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการใช้ในอนาคตได้ ซึ่งปัจจุบันบริษัท ABSOLICON ซึ่งเป็นบริษัทพัฒนาและผลิตแผงโซลาร์เซลล์ในสวีเดน
ได้มีการนำหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติไปใช้ในการผลิตโซลาร์เซลล์
ที่ออกแบบให้เป็นแผ่นสะท้อนแสงพาราโบลา
มุ่งเน้นไปที่การฉายรังสีแสงอาทิตย์บนเครื่องรับและเปลี่ยนเป็นไอน้ำที่มีอุณหภูมิสูงถึง
160 องศาสำหรับการใช้ในการผลิตภาคอุตสาหกรรม ABSOLICON มองว่านวัตกรรมที่ถูกคิดค้นและพัฒนาขึ้นนี้จะสามารถ
นำความร้อนจากแสงอาทิตย์มาใช้เป็นแหล่งพลังงานได้แพร่หลายยิ่งขึ้น
อุตสาหกรรมเกือบทั้งหมดต้องการความร้อนสำหรับกระบวนการผลิต หากมีแหล่งเก็บและสะสมพลังงานจากแสงอาทิตย์ที่ดี จะสามารถผลิตพลังงานเทียบเท่าน้ำมันได้ 100 ลิตร ในทุกๆตารางเมตร
ABB robot in the production line of Absolicon © ABB
Robotics
การนำหุ่นยนต์ ABB
สองตัว
มาใช้ในการผลิตในโรงงานของ ABSOLICON
ปัจจุบัน
ช่วยเพิ่มกำลังการผลิตจากเดิมที่เคยผลิตได้ 3 ชิ้นงานต่อวัน เป็น สามารถผลิตได้ 1
ชิ้นงานในทุก 6 นาที
นวัตกรรมทางอุตสาหกรรม : เตรียมพร้อมสู่การซ่อมแซม (UN´s SDG 9)
การเตรียมพร้อมสู่การซ่อมแซมเป็นกลยุทธ์แห่งความสำเร็จของผู้ผลิตหุ่นยนต์และลูกค้าในการประหยัดต้นทุนและทรัพยากรในการผลิต
โดยคำนึงถึงว่าหุ่นยนต์มีอายุการใช้งานเฉลี่ยสูงสุดสามสิบปี
ดังนั้นเพื่อเป็นการลดความเสี่ยงที่จะเกิดในอนาคต
ในขั้นตอนแรกนั้นควรลดการใช้ชิ้นส่วนให้น้อยลง
เพื่อให้ลูกค้าสามารถซ่อมแซมได้ในระยะยาว
ขณะเดียวกันการจัดเก็บชิ้นส่วนเป็นอีกเรื่องที่ท้าทาย โดยFanuc ผู้ผลิตหุ่นยนต์สัญชาติญี่ปุ่น
ต้องใช้พื้นที่ขนาดใหญ่เท่าสนามฟุตบอลในประเทศลักเซมเบิร์ก
เพื่อใช้ในการคงสต็อกอะไหล่สำรอง ปริมาณกว่า 600,000 ชิ้น
การหยุดทำงานของเครื่องจักรในแต่ละชั่วโมงนั้นหมายถึงจำนวนเงินที่ลูกค้าจะต้องสูญสียไป
ซึ่งปกติแล้วจะแก้ปัญหาโดยการขนส่งชิ้นส่วนอะไหล่ไปยังลูกค้า
และซ่อมแซมเครื่องที่หน้างาน แทนที่จะผลิตและจัดส่งเครื่องจักรใหม่ ผู้ผลิตเช่น ABB, Fanuc, KUKA หรือ Yaskawa ต่างมีศูนย์ซ่อมหุ่นยนต์
ซึ่งปัจจุบันมีหุ่นยนต์อุตสาหกรรมหลายพันตัวที่ได้รับการซ่อมแซมและอัปเกรดเพื่อการใช้งานอีกขั้นจากศูนย์ดังกล่าว
เกษตรอัจฉริยะ : หุ่นยนต์กำจัดสารเคมี (UN´s SDG 2)
ในภาคการเกษตร
ปัจจุบันมีการพัฒนาหุ่นยนต์ที่ทำงานในแปลงรุ่นใหม่ ที่เป็นหุ่นยนต์เลิกใช้สารเคมี
หุ่นยนต์ดังกล่าวจะมาพร้อมกับกล้องและซอฟต์แวร์ปัญญาประดิษฐ์
ที่สามารถระบุตำแหน่งของวัชพืชและเผาพวกมันด้วยการยิงเลเซอร์
ทำงานโดยการเดินไปช้าๆเพื่อกำจัดวัชพืชตามแปลงเพาะปลูก
เทคโนโลยีใหม่นี้ไม่เพียงแต่กำจัดการใช้สารกำจัดวัชพืชอย่างสมบูรณ์เท่านั้น
ยังเป็นทางเลือกให้เกษตรกรผู้ปลูกพืชพืชอินทรีย์ได้ใช้ทดแทนการเผา อีกด้วย
ศูนย์วิจัย Fraunhofer
EZRT และพันธมิตร
ได้ติดตั้งหุ่นยนต์ทำฟาร์มพร้อมเทคโนโลยีการนำทางสำหรับการควบคุมวัชพืชเชิงกลในหัวบีตน้ำตาล
ที่ทำงานด้วยตนเอง
เพื่อให้เกษตรกรสามารถอุทิศเวลาให้กับงานที่มีมูลค่าเพิ่มสูงกว่าการกำจัดวัชพืชด้วยมือหรือสารเคมี
เนื่องจากการกำจัดวัชพืชด้วยมือเป็นงานที่น่าเบื่อหน่ายสำหรับมนุษย์
เทคโนโลยีใหม่นี้ยังช่วยปรับปรุงสภาพการทำงานในฟาร์มอีกด้วย การทำงานที่สกปรก
น่าเบื่อ และอันตรายเป็นสิ่งที่หุ่นยนต์ทำได้อย่างยอดเยี่ยม
ที่มา : International
Federation of Robotics reports , Frankfurt, May 05,
2022
ที่มา CoRE
วันที่ เผยแพร่ 17/4/2565