'ดีอีเอส' หนุนดีป้า เข็น 'สมาร์ทซิตี้' ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อให้บริการเมืองอัจฉริยะ
เกิดต้นแบบความร่วมมือระหว่างหน่วยงานท้องถิ่นกับภาคเอกชนสร้างสรรค์ระบบบริการเมืองที่ตรงกับความต้องการของประชาชนผ่านวางแผนธุรกิจบริการเมืองแบบร่วมลงทุน
(พีพีพี)
นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) เป็นประธานในพิธีเปิดตัวโครงการดีป้า
สมาร์ท ลีฟวิ่ง โซลูชัน
โดยระบุว่าโครงการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์ที่จะสร้างความตระหนักด้านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อให้บริการเมืองอัจฉริยะ
ถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการวางแผนธุรกิจบริการเมืองแบบร่วมลงทุน หรือ ไพรเวท
พับบลิค พาร์ทเนอร์ชิพ (พีพีพี)
และจับคู่ความต้องการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลระหว่างหน่วยงานท้องถิ่นกับภาคเอกชนที่มีความพร้อมร่วมมือเพื่อให้บริการเมืองอัจฉริยะ
“คาดว่าจากความร่วมมือจะทำให้เกิดต้นแบบการให้บริการเมืองอัจฉริยะของหน่วยงานท้องถิ่นที่สามารถต่อยอดและขยายผลได้ในอนาคต
นำไปสู่ความร่วมมือในการพัฒนาบริการเมืองอัจฉริยะที่เป็นรูปธรรม
อีกทั้งช่วยแก้ไขปัญหาจำเป็นเร่งด่วน
และสอดคล้องกับแนวทางการรับมือกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19ในปัจจุบันด้วย”
นายชัยวุฒิ กล่าว
ขณะที่มีนายณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่
สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า กล่าวว่า โครงการดีป้า สมาร์ทลีฟวิ่ง
โซลูชัน ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากเครือข่ายพันธมิตร
ซึ่งโครงการดังกล่าวจะเป็นต้นแบบความร่วมมือระหว่างหน่วยงานท้องถิ่นกับภาคเอกชนในการสร้างสรรค์ระบบบริการเมืองด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลที่ตรงกับความต้องการของประชาชน
ซึ่งประชาชนจะได้รับความสะดวกและปลอดภัยในการใช้ชีวิต
และนำไปสู่การยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน
อีกทั้งแก้ไขปัญหาในพื้นที่เป้าหมายเขตส่งเสริมเมืองอัจฉริยะของ ดีป้า
โดยผู้สนใจเข้าร่วมโครงการเพื่อพัฒนาระบบบริการด้านการดำรงชีวิตอัจฉริยะ
ทั้งนี้
ที่ผ่านมามีเมืองที่มีสถานะเป็นเขตส่งเสริมเมืองอัจฉริยะ จำนวน 45 เมือง
และในจำนวนนี้มีเมืองที่ได้รับตราสัญลักษณ์เมืองอัจฉริยะแล้วทั้งสิ้น 15 เมือง
เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับเมือง เพื่อวางแผนและเข้าสู่การประเมิน
สร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านต่าง ๆ
เพื่อผลักดันให้เกิดการพัฒนาแผนโครงการและบริการในเมืองอัจฉริยะในทางปฏิบัติ
และสร้างบุคคาลากรที่มีทักษะ ซึ่งถือเป็นกำลังสำคัญของการพัฒนาประเทศในอนาคต
นอกจากนี้
ดีป้ายังได้ลงนามบันทึกข้อตกลงบันทึกความร่วมมือการส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาบริการเมืองอัจฉริยะที่ดำเนินการร่วมกับ
บมจ.โทรคมนาคมแห่งชาติ
มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนการยกระดับทักษะแก่บุคลากรในหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนให้มีความรู้ความเข้าใจ
และสามารถปรับตัวเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลโดยการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้อย่างเหมาะสม
พอเพียง มีแบบแผน
อีกทั้ง ยังมีบันทึกข้อตกลงความร่วมมือฯ กับ
มาสเตอร์การ์ด มีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ในการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ
ผ่านกลไกการประชาสัมพันธ์ การร่วมศึกษา
และการดำเนินงานโครงการนำร่องด้านการพัฒนาและสนับสนุนเมืองอัจฉริยะและบริการเมืองอัจฉริยะ
ต่อยอดเครือข่ายการพัฒนาเมืองอัจฉริยะประเทศไทย ผ่านการร่วมศึกษา สร้างสรรค์
และลงทุนระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน หรือ พีพีพีของบริการเมืองอัจฉริยะด้วย
ที่มา กรุงเทพธุรกิจ
วันที่ เผยแพร่ 11/4/2565